6 วิธีในการลดก๊าซเรือนกระจกจากอาคารใหญ่

Wednesday, 02 January 2019 Read 2708 times Written by 

syn37

 

6 วิธีในการลดก๊าซเรือนกระจกจากอาคารใหญ่

          ยิ่งสังคมเมืองขยายใหญ่ขึ้น ผู้คนมาอยู่อาศัยกันอย่างแออัดมากขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างอาคารสูงเพื่อให้คนมีที่อยู่เพียงพอ อาคารใหญ่เหล่านี้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากที่สุด จากข้อมูล ค.ศ. 2013 อาคารต่าง ๆ ใช้ไฟฟ้าถึงร้อยละ 57.9 ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ การผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก๊าซนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า โลกร้อนกระทรวงพลังงานจึงประกาศใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน EEP 2015 (ค.ศ. 2015 – 2036) เพื่อลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจะทำให้ได้ตามแผนนี้ กระทรวงพลังงานต้องใช้มาตรการต่าง ๆ ทั้งภาคบังคับ ภาคความร่วมมือ และภาคสนับสนุน

          มาตรการภาคบังคับรายการหนึ่งคือการกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในอาคารใหม่ โดยมีเป้าหมายให้ลดการใช้พลังงานและให้อาคารที่ก่อสร้างใหม่ผ่านการประเมินมาตรฐานอาคารสีเขียวในระดับสากล คำถามสำคัญคือ หากทำตามมาตรการแล้ว จะลดโลกร้อนได้จริงหรือ

          งานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ทำโดยการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างการใช้อาคารในสถานการณ์ปกติ กับการใช้อาคารในสถานการณ์ที่ทำตามแผนอนุรักษ์พลังงาน

          ผลของงานวิจัยระบุว่า แผนอนุรักษ์พลังงานนี้จะลดความต้องการพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในส่วนที่พักอาศัยและย่านการค้าลงได้ร้อยละ 19.1 และ 31.2 ตามลำดับ ใน ค.ศ. 2036 การใช้มาตรการทั้งหกในภาคการค้าจะมีส่วนสำคัญในการลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 86.6 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 87.4 มาตรการทั้งหกนี้คือ 1) การออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน 2) การกำหนดมาตรฐานการใช้พลังงานในอาคารใหม่ 3) การติดฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไว้ที่เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ทำความร้อน 4) การกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้ให้บริการด้านไฟฟ้าต้องช่วยให้ผู้ใช้บริการหรือผู้ใช้ไฟฟ้าเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้า 5) การอุดหนุนด้านการเงินเพื่อเร่งการตัดสินใจลงทุนเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และ 6) การส่งเสริมการใช้แสงสว่างแบบอนุรักษ์พลังงาน เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟแบบเก่าเป็นหลอด LED

          แม้อาคารต่าง ๆ ในเมืองจะใช้พลังงานไฟฟ้ามาก แต่เมื่อทำตามแผนอนุรักษ์พลังงานอย่างต่อเนื่อง ก็จะลดการใช้พลังงานลงได้จริง ๆ งานต่อไปที่ต้องทำคือการหาทางลดการใช้พลังงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่ออนุรักษ์พลังงานได้ครอบคลุม ส่งผลระยะยาวให้ประเทศมีความมั่นคงด้านพลังงานต่อไป

อ้างอิง : Chaichaloempreecha, A., Winyuchakrit, P., & Limmeechokchai, B. (2017). Long-term energy savings and GHG mitigations in Thailand’s building sector: impacts of energy efficiency plan. Energy Procedia, 138, 847-852.

Photo by IRENA

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank