การปล่อยก๊าซเรือนกระจกผงฝุ่นคาร์บอน

Wednesday, 02 January 2019 Read 624 times Written by 

syn28

 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกผงฝุ่นคาร์บอนจากไฟไหม้ป่าเต็งรัง

ชีวิตมนุษย์ต้องการปัจจัยสี่คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ป่าไม้ให้ปัจจัยสี่นี้ได้ครบถ้วน พืชและผลไม้หลายชนิดรวมทั้งสัตว์ป่าเป็นแหล่งอาหาร เส้นใยจากเปลือกไม้และเถาวัลย์ก็ทำเครื่องนุ่งห่มได้ถ้าจำเป็น ไม้ใช้สร้างบ้านเรือนได้ และสมุนไพรในป่าก็รักษาโรคได้หลายโรค นอกจากนี้ ป่าไม้ยังมีประโยชน์อีกหลายประการที่อาจถูกมองข้ามหรือลืมเลือนไปบ้าง แต่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยจนได้ข้อสรุปชัดแล้วว่า ป่าไม้ช่วยให้อากาศมีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ส่งผลให้ฝนตกเพิ่ม ป่าไม้ช่วยบรรเทาความรุนแรงของลมมรสุมได้ ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดินและป้องกันผิวดินที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ให้ถูกลมพัดพาไป ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน โดยเมื่อฝนตก เรือนยอดของป่าไม้จะสกัดกั้นความรุนแรงของฝน มิให้ตกกระทบผิวดินโดยตรง ป่าไม้บรรเทาน้ำท่วม ช่วยเก็บน้ำฝนที่ซึมลงดินไว้ก่อนจะค่อย ๆ ปล่อยออกสู่ลำธาร ล่าสุด นักวิจัยพบว่า ป่าไม้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกหลักของโลก ทั้งนี้เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกดูดกลับมากักเก็บในต้นไม้และดินในป่าไม้

ดังนั้น การศึกษาเฝ้าระวังปริมาณก๊าซที่ผ่านเข้าออกในระบบนิเวศป่าไม้จึงจำเป็นมาก เมื่อรู้ศักยภาพการดูดกลับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และความอ่อนไหวของระบบนิเวศหากสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ก็จะหาวิธีรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

ป่าไม้สำคัญประเภทหนึ่งในไทยคือป่าเต็งรังซึ่งเป็นป่าผลัดใบ ป่าชนิดนี้มีต้นไม้หนาแน่นน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี มีปริมาณฝนตกน้อย ป่าเต็งรังจะเกิดไฟป่าในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม ไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นไม้ในป่าเต็งรังผลัดใบในฤดูแล้ง ทิ้งใบเต็มพื้นจนเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี เมื่อถึงฤดูฝนป่าก็จะเขียวสดอีกครั้ง เป็นแหล่งอาหารทั้งของคนและสัตว์ ปัจจุบัน ป่าเต็งรังในประเทศไทยเสื่อมโทรมลงมาก เพราะการตัดไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจออกไปใช้ วัวควายเข้าไปหากินในป่า เหยียบย่ำทำลายพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ผลกระทบจากไฟป่าก็มักรุนแรงเกินกว่าป่าจะฟื้นตัวได้ทัน เพราะไฟป่าไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ แต่เกิดจากการเผาป่าเพราะต้องการเก็บของป่า เข้าป่าได้ง่ายเพื่อล่าสัตว์ และเพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก

ไฟป่าก่อปัญหาหมอกควัน และผงฝุ่นคาร์บอน มีผลการวิจัยว่า ผงฝุ่นคาร์บอนนี้ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนมากกว่าที่คาด เป็นรองเพียงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่านั้น ไฟป่าในไทยปล่อยผงฝุ่นคาร์บอน 17.43 ตันต่อปี และมีเพียงไม่ถึงร้อยละ 10 ที่กลับคืนสู่ผืนป่า ส่วนที่เหลือลอยไปในอากาศ จึงควรมีการวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อกำหนดแผนรับมือและแก้ปัญหาโลกร้อนจากผงฝุ่นคาร์บอนเพราะไฟป่าให้ได้ผล

อ้างอิง: Chaiyo, U., & Garivait, S. (2014). Estimation of Black Carbon Emissions from Dry Dipterocarp Forest Fires in Thailand. Atmosphere, 5(4).

Photo by Wikipedia

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank