แผงโซล่าเซลจาก''ขยะ''ฝีมือนักวิจัยมทร.ธัญบุรี

Wednesday, 20 July 2011 Read 1227 times Written by 

solacell2

"พลังงานแสงอาทิตย์" เป็นพลังงานทดแทนที่ หลายๆคนรู้จักกันดี และในขณะที่โลกพลังงานจากเชื้อเพลิงกำลังเริ่มลด พลังงานแสงอาทิตย์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยเพราะ พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังที่ไม่มีวันหมด เมื่อนำมาใช้ก็ไม่ได้ก่อผลต่อสิ่งแวดล้อมใดๆ หรือจะเรียกว่าพลังงานสะอาดก็ว่าได้

ทั้งนี้ทั้งนั้น ถึงแม้ว่า พลังงานจากแสงอาทิตย์จะมีประโยชน์ อย่างมหาศาล หากแต่ก็ก็ยังอยู่ในแวดวงที่จำกัด เหตุก็เพราะ หนึ่ง เราไม่สามารถนำเอาแสงจากดวงอาทิตย์มาใช้เป็นพลังงานได้ทันที จำเป็นต้องผ่านกระบวนการ และอุปกรณ์ ที่เรียกว่าโซล่าเซลที่จะทำหน้าที่รับเอาแสงอาทิตย์แล้วมาเปลี่ยนค่าเป็นพลังงานไฟฟ้าเสียก่อน ข้อจำกัดข้อที่สองคือ แผงโซล่าเซล ที่ใช้ในปัจจุบันนั้นมีราคาค่อนข้างแพง ทำให้ประชาชนที่มีกำลังซื้อน้อยไม่สามารถซื้อหามาใช้ได้อย่างกว้างขวาง

ทั้งนี้ นักวิจัยในประเทศเองก็ได้ตระหนักถึงข้อจำกัดเหล่านี้เช่นกัน จึงได้มีความพยายามที่จะคิดค้น และประดิษฐ์ แผงรับรังสีจากแสงอาทิตย์(โซล่าเซล) ที่มีราคาต้นทุนถูกลง โดย ดร.สถาพร ทองวิค จากภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ก็เป็นนักวิจัยอีกผู้หนึ่งที่ทำได้สำเร็จ ความสำเร็จนี้ไม่ใช่แค่การผลิตแผงรับรังสีที่มีต้อนทุนต่ำเท่านั้น หากแต่ แผ่นรับรังสีที่ คิดค้นได้สำเร็จนั้น ยังผลิตมาจากเศษขยะอีกด้วย

"ในการทดสอบ เราได้ใช้ขยะอย่าง กระป๋องนมข้น กระป๋องอลูมิเนียม ยาง และสังกะสี มาสร้างเป็นแผ่นรับรังสีจากดวงอาทิตย์และทำการทดสอบ และศึกษาข้อมูล ส่วนในกระบวนการทดสอบ เราได้นำ ขยะเหลือใช้ทั้ง 4 ชนิดมาทดสอบกับระบบการไหลของน้ำ 1,1.5 และ 2 ลิตรต่อนาทีตามลำดับเพื่อนำไปวิเคราะห์ จากนั้นก็นำไปเปรียบเทียบกับแผงรับแสงอาทิตย์และสรุปผล โดยพบว่า แผงรับรังสีอาทิตย์ที่อัตราการไหล 1,1.5,2 ลิตรต่อนาทีพบว่า ที่อัตราการไหล 1.5 ลิตรต่อนาที และกระป๋องอลูมิเนียมเป็นตัวรับรังสีอาทิตย์ มีประสิทธิภาพรวมสูงสุด โดยมีประสิทธิภาพสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 94.13 รองลงมาที่อัตราการไหล 1ลิตรต่อนาทีมีประสิทธิภาพคิดเป็นร้อยละ 82.43 และที่อัตราการไหล 2 ลิตรต่อนาทีมีประสิทธิภาพต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 77.61"

อย่างไรก็ดี ดร.สถาพรยังบอกอีกว่าประเทศไทยเป็นประเทศ ที่มีศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสูง เนื่องจากได้รับรังสีดวงอาทิตย์สูงเกือบตลอดทั้งปี จึงมีศักยภาพที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้เป็นอย่างดี โดยพลังงานที่ได้จากแสงอาทิตย์มีค่าประมาณ 17 MJ/m2-day การใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้ได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของพลังงานความร้อน ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และถ้าประกอบกับ การนำเอาเศษขยะที่ไม่ได้ใช้แล้วกลับมาใช้ ประโยชน์ที่ได้รับก็คือ โอกาสที่ประชาชนจะมีโอกาสได้ใช่พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างทั่วถึงเพราะมีต้นทุนที่ต่ำลง ทั้งยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดขยะได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

ขอขอบคุณ : ASTVผู้จัดการออนไลน์ และ MEAS Think Tank (โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม)

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank