อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน ความหวังของชาวตาพระยา

Monday, 14 October 2013 Read 4113 times Written by 

อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน ความหวังของชาวตาพระยา

14 10 2013 4

โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง เมื่อปี 2525 และมีพระราชดำริต่อมาอีกหลายครั้ง เนื่องจากเป็นโครงการที่นอกจากจะช่วยอำนวยประโยชน์ต่อการเกษตร การป้องกันน้ำท่วม น้ำแล้งในพื้นที่ อ.ตาพระยาแล้ว ยังเป็นการพัฒนาทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงอีกด้วย

ต่อมางกรมชลประทานได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น มีการศึกษาจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น และออกแบบรายละเอียด เสร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยาบางส่วน เพื่อก่อสร้างอ่างฯ เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2548 ที่ผ่านมา
ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2548 คณะกรรมการมรดกโลกได้มีการประกาศให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติตาพระยาเป็นแหล่งมรดกโลก กรมชลประทานจึงต้องระงับการดำเนินงานก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ห้วยสะโตน ขณะที่ปัญหาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝนของชาวตาพระยา ยังไม่ได้รับการแก้ไขและมีแนวโน้มรุนแรงเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เสื่อมโทรมลง และประชากรในพื้นที่เพิ่มขึ้น

ต่อมาราษฎรในพื้นที่ได้รวมตัวกันเรียกร้องให้กรมชลประทานทบทวนการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ขึ้นมาใหม่ ดังนั้นเพื่อให้เป็นการดำเนินการตามความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ ทางกรมชลประทานจึงได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา ดำเนินการภายใต้ “โครงการทบทวน ผลการศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน จังหวัดสระแก้ว” อีกครั้ง เมื่อเดือนพฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยมีระยะเวลาศึกษารวมทั้งสิ้น 540 วัน

การศึกษาทบทวนในครั้งนี้ มีประเด็นหลักครอบคลุม 3 ด้าน คือ ด้านวิศวกรรม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วมของประชาชน และศึกษาวิเคราะห์สภาพพื้นที่ในภาพรวมทั้งสภาพปัจจุบัน แนวโน้มในอนาคต สภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำ รวมทั้งศึกษาศักยภาพการพัฒนาแหล่งน้ำ การเสนอมาตรการและแผนงานโครงการ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย การจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และการจัดทำแผนหลักการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยสะโตนเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืน

อ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำและควบคุมปริมาณน้ำท่าให้เพียงพอต่อความต้องการน้ำใช้ทั้งปี ในพื้นที่เกือบทั้งหมด 5 ตำบล ของอำเภอตาพระยา คือ ต.ทัพไทย ต.ทัพราช ต.โคคลาน ต.ทัพเสด็จ และต.ตาพระยา ของ อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว เก็บกักน้ำได้ประมาณ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร และสามารถส่งน้ำให้ชาวบ้านได้เพาะปลูก 8,000 ไร่ในฤดูฝน และ 4,700 ไร่ในฤดูแล้ง

นายสมเกียรติ ประจำวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า หากสามารถดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตนสำเร็จ นอกจากจะสามารถบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และปัญหาขาดแคลนน้ำ รวมทั้งขยายพื้นที่การเกษตรได้แล้ว กรมชลประทานยังมีแผนที่จะผันน้ำในช่วงฤดูฝนมาเติมที่อ่างเก็บน้ำห้วยยาง อ.ตาพระยา จ.สระแก้ว ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ความจุ 60 ล้านลูกบาศก์เมตรอีกด้วย เนื่องจากตั้งแต่ก่อสร้างอ่างฯเสร็จในปี 2537 ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯ ไม่เคยเต็มความจุ มากที่สุดประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ทำให้ส่งน้ำช่วยพื้นที่เกษตรกรรมได้เพียงประมาณ 40,000 ไร่ ดังนั้นหากมีการผันน้ำจากอ่างฯ ห้วยสะโตน มาเติมให้เต็ม อ่างฯ ก็จะทำให้อ่างฯ ห้วยยางใช้ประโยชน์ได้เต็มศักยภาพ ขยายพื้นที่เกษตรกรรมได้มากขึ้นอีกด้วย

อย่างไรก็ตามในการทบทวน ผลการศึกษาอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน ดังกล่าว จะต้องได้รับการอนุญาตขอเข้าพื้นที่เพื่อสำรวจและศึกษา จากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชก่อน ซึ่งกรมชลประทานได้ยื่นเรื่องขอเข้าพื้นที่แล้ว คาดว่าจะได้รับคำตอบในเร็วๆนี้ และระหว่างที่รอคำตอบจากกรมอุทยานแห่งชาติฯ ก็จะทำการศึกษาในพื้นที่รอบๆก่อน เพื่อให้ผลการศึกษาออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด

“โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน เป็นโครงการที่เกิดจากความต้องการของชาวบ้านจริงๆ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้การสนับสนุน เนื่องจากประชาชนในพื้นที่เดือดร้อนในเรื่องน้ำ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา และได้ข้อสรุปว่า การทบทวนเพื่อให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสะโตน เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในพื้นที่ ไม่ว่าทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งได้ดีที่สุด และเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนอีกด้วย" ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทานกล่าว

เกษตรทั่วไทย

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank