จับตา แค่สัปดาห์นี้ กรุงเทพฯ ‘รอด’ น้ำท่วมแล้ว

Monday, 14 October 2013 Read 2213 times Written by 

..จับตา แค่สัปดาห์นี้ กรุงเทพฯ ‘รอด’ น้ำท่วมแล้ว

14 10 2013 3

แม้มวลน้ำจะยังมีให้เห็นในอีกหลายจังหวัด ด้านเหนือ ที่จ่อผ่านประตูกรุงเทพฯ เพื่อลงสู่ทะเลอยู่ในขณะนี้ไม่ได้มีปริมาณมากมายเท่าปีก่อน ๆ แต่ก็ทำให้คนกรุงเทพฯ เองก็อดหวั่นไม่ได้ ว่าปีนี้จะรอดหรือไม่รอด

สำหรับปัญหาน้ำท่วม มาจาก ปัจจัย 3 น้ำสำคัญ คือ น้ำฝน น้ำเหนือและน้ำหนุน ที่จะเป็นตัวบ่งบอกให้รู้ว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ของ 3 น้ำที่ว่า ค่อนข้างไม่น่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่ โดยจากนี้ไปปริมาณฝนจะลดลงอย่างต่อเนื่อง จนแทบจะไม่มีฝนตกลงมาในพื้นที่ เหลือเพียงการเฝ้าระวังพายุนารี ที่จะส่งผลกระทบกับประเทศ
ไทย ในช่วงกลางเดือน ต.ค. และจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยานั้น พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากพายุคือภาคอีสานและอาจจะไม่ส่งผลกระทบกับภาคกลางและกรุงเทพฯ

ส่วนปริมาณน้ำเหนือ แนวโน้มระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบนเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนทางตอนล่างระดับน้ำยังทรงตัวเนื่องจากยังอยู่ในช่วงของน้ำทะเลหนุนสูง อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำเหนือขณะนี้ กรมชลประทานได้มีการทยอยระบายลงสู่อ่าวไทยผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งปกติ กทม.จะมีการติดตามสถานการณ์การปล่อยน้ำใน 3 จุดหลัก ๆ คือ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ปล่อยมาที่ประมาณ 1,713 ลบ.ม.ต่อวินาที จากปริมาณน้ำที่รับได้ 2,840 ลบ.ม.ต่อวินาที เขื่อนพระราม 6 จังหวัดสระบุรี ปล่อยมาที่ประมาณ 726 ลบ.ม.ต่อวินาที จากปริมาณน้ำที่รับได้ 1,800 ลบ.ม.ต่อวินาที และที่ผ่านอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดที่จะผ่านเข้ามายังกรุงเทพฯ นั้น ปล่อยมาที่ประมาณ 2,408 ลบ.ม.ต่อวินาที จากปริมาณน้ำที่รับได้ 3,500 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งทุกจุดนั้นปริมาณน้ำที่ปล่อยมายังอยู่ในระดับที่สามารถรับได้ทุกจุด ส่วนการระบายน้ำลงคลอง ด้านติดกับจังหวัดปทุมธานี ขณะนี้ผ่านคลองระพีพัฒน์ 2.4 เมตร จากความสูงแนวคลอง 3.1 เมตร รังสิตประยูรศักดิ์ 1.95 เมตร จากความสูงแนวคลอง 2 เมตร ด้านติดกับจังหวัดนนทบุรี ผ่านคลองมหาสวัสดิ์ ขณะนี้ระดับน้ำอยู่ในระดับ 1.7 เมตรจากความสูงแนวคลอง 1.9 เมตร ระดับน้ำในคลองภาษีเจริญอยู่ในระดับ 0.33 เมตร จากความสูงแนวคลอง 0.9 เมตร ซึ่งไม่มีจุดใดเข้าข่ายวิกฤติ

ส่วน น้ำหนุนนั้น จากรายงานของกรมอุทกศาสตร์ ทหารเรือ แจ้งว่า ในระหว่างวันที่ 19–25 ต.ค. 56 นี้ แม่น้ำเจ้าพระยาจะเกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้ง ซึ่งจะกระทบกับเขตจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพฯ โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น จะเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ระหว่างวันที่ 16-18 ต.ค. โดยจะขึ้นสูงสุดในช่วงเวลา 17.00 น. วันที่ 17 ต.ค. ระดับ 1.12 เมตร ซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบกับพื้นที่ในแนวเขื่อนริมเจ้าพระยา เนื่องจากแนวเขื่อนมีความสูงถึง 3 เมตร แต่ต้องมีการเตรียมรับมือกับบ้านเรือนประชาชนที่อยู่นอกแนวคันกั้นน้ำอย่างใกล้ชิด

ดังนั้นสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันนี้ของปี 2554 คือในช่วงเดือน ต.ค. ซึ่งขณะนั้น สถานการณ์น้ำท่วมพื้นที่ลุ่มแม่น้ำภาคกลางนั้นค่อนข้างวิกฤติ เพราะปริมาณน้ำที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยานั้นปล่อยลงมามากกว่าปริมาณที่สามารถรับได้ในทุกสถานี จึงทำให้เกิดปัญหาน้ำล้นแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ จังหวัดภาคกลางเกือบทั้งหมดรวมถึงกรุงเทพฯ ด้วย จึงถือว่าในปีนี้ภาคกลาง ประสบปัญหาน้อยกว่าช่วงนั้นมาก

ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้น นอกจากช่วงเวลาฝนตกลงมาในปริมาณมากแล้วเกิดเป็นน้ำขังรอระบายที่ใช้เวลาประมาณ 2-4 ชั่วโมง และปัญหาน้ำท่วมพื้นที่รับน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็น เขตลาดกระบัง มีนบุรี หนองจอก เป็นต้น และปัญหาชาวบ้านนอกแนวเขื่อนริมเจ้าพระยาที่ได้รับผลกระทบบ้างแล้ว คนกรุงน่าจะมั่นใจได้ว่า สภาพน้ำท่วมในแบบปี 2554 จะไม่เกิดซ้ำรอยอีกแน่นอน

นายสัญญา ชีนิมิตร รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ณ ขณะนี้ถือว่าไม่น่าเป็นห่วง ปีนี้กรุงเทพฯน่าจะรอดจากปัญหาน้ำท่วมแล้ว แต่ทั้งนี้ยังต้องขอดูสถานการณ์อีกเล็กน้อยในช่วงกลางเดือน ต.ค. เนื่องจากจะมีพายุนารีเข้าพื้นที่ประเทศไทย ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า กรุงเทพฯ จะได้รับผลกระทบหรือไม่มากน้อยเพียงใด และสถานการณ์น้ำที่จะหนุนอีกครั้งในช่วงวันที่ 16-18 ต.ค. หากพ้นจากนี้ไปก็น่าจะเป็นสัญญาณที่ดี ส่วนปริมาณน้ำค้างทุ่งนั้น จากการติดตามระดับน้ำที่จะต้องระบายผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาลงมาผ่านพื้นที่กรุงเทพฯ แล้วขณะนี้ เมื่อสถานการณ์ในแม่น้ำเจ้าพระยายังสามารถระบายได้อย่างต่อเนื่องในระดับที่ดี จากข้อมูลของกรมชลนั้นแจ้งว่า หลังวันที่ 17-18 ต.ค. ไปแล้ว ปริมาณน้ำจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ เพราะมีน้ำค้างทุ่งอยู่เป็นจำนวนมาก คาดว่าต้องใช้เวลาระบายน้ำ จนถึงสิ้นเดือน ต.ค. นี้

ตอนนี้คนกรุงที่กำลังเป็นกังวลว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยปี 54 คงวางใจได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้มีสัญญาณดี ๆ บอกมากมาย อย่างไรก็ตามแม้ปีนี้รอดแล้ว ก็อย่าลืมว่า “น้ำท่วม” พร้อมที่จะกลับมาใหม่เสมอในปีต่อ ๆ ไป.

บานเย็น แม่นปืน / รายงาน

Credit : http://www.dailynews.co.th

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank