''48 จุดเสี่ยง'' ไฟไหม้หน้าร้อน

Tuesday, 02 April 2013 Read 2399 times Written by 

02 04 2013 8

เฝ้าระวัง ''48 จุดเสี่ยง'' ไฟไหม้หน้าร้อน

ช่วงหน้าร้อน ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว และอุณหภูมิสูง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย เห็นได้จากสถิติที่ทางสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ได้เก็บรวบรวมสถิติเหตุเพลิงไหม้ไว้ดังนี้ เหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่ต้นปีเกิดกับอาคาร 50 ครั้ง เหตุเพลิงไหม้สิ่งของ 55 ครั้ง เหตุเพลิงไหม้ยานพาหนะ 55 ครั้ง และเหตุเพลิงไหม้หญ้าและขยะเกิดเหตุมากถึง 1,262 ครั้ง

พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนศิริ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า แม้ว่าสถิติในปีนี้เหตุเพลิงไหม้จะลดน้อยลง แต่ก็ยังคงต้องเฝ้าระวังเหตุอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อนที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ได้ง่ายและในปีนี้อากาศร้อนมาก และยิ่งเข้าสู่ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนมีการรวมตัวกันเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ หรือการออกท่องเที่ยวทิ้งบ้านเรือนไว้อาจมีความเสี่ยงให้เกิดเพลิงไหม้ได้มากขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีผู้คนอยู่อาศัยจำนวนมากต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือ ชุมชนแออัด ชุมชนที่เป็นบ้านไม้ ชุมชนคนไทยเชื้อสายจีนที่มีการไหว้เจ้า มีการจุดประทัด เผากระดาษ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นจึงมีการตั้งศูนย์เฝ้าระวังของเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นจุดที่มีความห่างไกลจากสถานีดับเพลิง เพื่อให้สามารถดูแลประชาชนและเข้าถึงเหตุการณ์ได้รวดเร็ว ซึ่งปัจจุบันการเข้าถึงจุดเกิดเหตุได้เฉลี่ยประมาณ 10 นาที ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 8 นาที

สำหรับจุดพื้นที่เฝ้าระวัง เป็นพิเศษ มี 48 จุด ดังนี้คือ บริเวณใต้ทางด่วนแยกถนนสีลม สถานีดับเพลิงบางรัก ถนนข้าวสาร สถานีดับเพลิงภูเขาทอง บริเวณถนนเจริญราษฎร์ สถานีดับเพลิงยานนาวา สมาคมเตชะสัมพันธ์ สถานีดับเพลิงถนนจันทน์ ใต้สะพานข้ามทางรถไฟถนนพระราม 3 สถานีดับเพลิงทุ่งมหาเมฆ ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ สถานีดับเพลิงบรรทัดทอง วงเวียนโอเดียน สถานีดับเพลิงสวนมะลิ สวนลุมพินีไนท์พลาซ่า ชุมชนกุหลาบแดง สถานีดับเพลิงบ่อนไก่ บริเวณย่านสถานบันเทิงอาร์ซีเอ ถนนพระราม 9 หน้าห้างสรรพสินค้าจัสโก้ ถนนศรีนครินทร์ สถานีดับเพลิงบางกะปิ พื้นที่สำนักงานเขตห้วยขวางทั้งหมด สถานีดับเพลิงห้วยขวาง ชุมชนซอยพึ่งมี 50 ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่หน้าสถานีดับเพลิงพระโขนงถึงสี่แยกบางนา สถานีดับเพลิงพระโขนง พื้นที่สำนักงานเขตคลองเตยทั้งหมด สถานีดับเพลิงคลองเตย หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง 1 หน้าห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์บางกะปิ สถานีดับเพลิงหัวหมาก หน้านิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง หน้าตลาดน้ำมหานคร ถนนทับยาว คลองหลวงแพ่ง สถานีดับเพลิงลาดกระบัง

ถนนนิมิตใหม่-ถนนคลองสามวาตลอดสาย หน้าตลาดมีนบุรีถึงห้างสรรพสินค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ถนนรามอินทรา หน้าสวนสัตว์ซาฟารีเวิลด์ จนถึงหน้าสำนักงานเขตคันนายาว สถานีดับเพลิงบางขัน หน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา) และซอยเฉลิมพระเกียรติ สถานีดับเพลิงย่อยประเวศ ถนนสุขุมวิท-ตราด บริเวณสี่แยกบางนา-ตราด ถึงบริเวณแยกทางเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ สถานีดับเพลิงย่อยบางนา หน้าตลาดสดหนองจอก บริเวณวงเวียนหน้าสำนักงานเขตหนองจอก สถานีดับเพลิงย่อยหนองจอก ทางคู่ขนานมอเตอร์เวย์ขาเข้าและขาออก สถานีดับเพลิงย่อยสะพานสูง บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต สถานีดับเพลิงย่อยร่มเกล้า หน้าห้างสรรพสินค้าโลตัส สาขาประชาชื่น สถานีดับเพลิงบางโพ หมอชิตใหม่ สถานีดับเพลิงลาดยาว ตลาดยิ่งเจริญ (สะพานใหม่) สถานีดับเพลิงบางเขน หน้าโรงเรียนหอวัง สถานีดับเพลิงลาดพร้าว อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งด่านเก็บเงินขาเข้า ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท สถานีดับเพลิงดุสิต สี่แยกสะพานควาย สถานีดับเพลิงสุทธิสาร

ประตูน้ำ ถนนเพชรบุรี (ใต้สะพานประตูน้ำ) สถานีดับเพลิงพญาไท ท่าวาสุกรี สถานีดับเพลิงสามเสน ใต้สะพานพระราม 7 ฝั่งพระนคร ถนนประชาราช สถานีดับเพลิงบางซ่อน บริเวณสถานีรถบีอาร์ทีราชพฤกษ์ตัดแยกท่าพระ สถานีดับเพลิงตลาดพลู ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ สถานีดับเพลิงทุ่งครุ หน้าห้างสรรพสินค้าเทสโก้โลตัส สาขาจรัญสนิทวงศ์ สถานีดับเพลิงบางอ้อ หน้าห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพลาซ่า สาขาพระราม 2 สถานีดับเพลิงดาวคะนอง สมาคมมิตรภาพบางแค สถานีดับเพลิงบางแค หน้าห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาจรัญสนิทวงศ์ สถานีดับเพลิงบางขุนนนท์ ชุมชนท่าดินแดง 14-16 ถนนท่าดินแดง สถานีดับเพลิงปากคลองสาน บริเวณกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 สถานีดับเพลิงตลิ่งชัน บริเวณสถานีบริการน้ำมันเอสโซ่ ปากซอยจรัญสนิทวงศ์ 13 สถานีดับเพลิงธนบุรี บริเวณห้างสรรพสินค้าแม็คโคร สาขาบางบอน สถานีดับเพลิงบางขุนเทียน เชิงสะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี สถานีดับเพลิงบวรมงคล

แม้ว่าสถานการณ์เหตุเพลิงไหม้ในปีนี้จะไม่รุนแรง แต่การเฝ้าระวังติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด ในช่วงหน้าร้อนเช่นนี้ การตั้งจุดเฝ้าระวังเข้าถึงสถานที่เกิดเหตุได้รวดเร็วก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดความสูญเสียได้
 
แต่สิ่งสำคัญมากกว่านั้น คือการช่วยกันเฝ้าระวังกันเองของคนในชุมชน ในบ้านเรือนของตนเอง อาทิ การตรวจสอบสายไฟให้มีสภาพปลอดภัย การทิ้งก้นบุหรี่ให้ถูกที่ การจุดธูปเทียนไหว้พระอย่างระมัดระวัง การเผาหญ้าและขยะในที่ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์น่าจะเป็นสิ่งที่ดี รวมถึงการแจ้งเหตุอย่างทันท่วงที ที่หมายเลข 199 หรือสายด่วน กทม. 1555 ก็สามารถเข้าช่วยเหลือได้รวดเร็ว.

Credit: http://www.dailynews.co.th/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank