บริหารจัดการน้ำในเขื่อนช่วงแล้ง

Monday, 01 April 2013 Read 1078 times Written by 

01 04 2013 7

บริหารจัดการน้ำในเขื่อนช่วงแล้ง

รายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนการจัดสรรน้ำในการปลูกพืชฤดูแล้งปี 2555/56 ว่า ขณะนี้ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศทั้งในและนอกเขตชลประทานยังเป็นไปตามแผนและเป็นไปตามเป้าหมาย โดยขณะนี้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งแล้วทั้งสิ้น 15.35 ล้านไร่ จากแผน 16.62 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรังมีการปลูกแล้ว 13.31 ล้านไร่ จากแผน 13.99 ล้านไร่ พืชไร่ พืชผัก ปลูกแล้ว 2.04 ล้านไร่ จากแผน 2.63 ล้านไร่ ได้มีการบริหารจัดการและควบคุมระบบการระบายน้ำได้จนถึงเริ่มต้นฤดูกาลผลิตในต้นเดือนพฤษภาคมได้ ขณะเดียวกัน การระบายน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ก็จะต้องดำเนินการเพื่อการอุปโภค-บริโภค เพื่อระบบนิเวศและเพื่อการเกษตรแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ยังได้ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ในการเพิ่มปริมาณการระบายน้ำในเขื่อนต่าง ๆ เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในช่วงที่ประเทศพม่าจะมีการปิดซ่อมท่อแก๊ส และของไทย รวม 3 ช่วงเวลานั้น โดยเฉพาะเขื่อนในภาคตะวันตก ที่มีศักยภาพที่จะสามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น เช่น เขื่อนวชิราลงกรณเดิมทีมีการระบายน้ำเฉลี่ยวันละ 22 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยในช่วงที่มีการปิดซ่อมท่อแก๊สระยะเวลารวม 27 วันนั้น จะมีการเพิ่มการระบายน้ำเป็นวันละ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมปริมาณน้ำที่ระบายทั้งสิ้นรวม 384 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ 62.95 กิกะวัตต์ ซึ่งจะช่วยสามารถลดการใช้พลังงานจากแหล่งอื่นมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ โดยหากเป็นน้ำมันเตาคิดเป็นมูลค่าจำนวน 418 ล้านบาท หรือน้ำมันดีเซลคิดเป็นมูลค่า 632 ล้านบาท

และนอกจากเขื่อนต่าง ๆ ที่มีการผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่เดิมแล้ว เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ที่ขณะนี้ไม่สามารถระบายน้ำในแต่ละอ่างฯ เกินวันละ 20 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เนื่องจากต้องรักษาระดับการเก็บกักน้ำในอ่างฯ แต่ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ จะติดตั้งเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าบริเวณประตูระบายน้ำเพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ได้แก่ เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท โดยขณะนี้ได้เริ่มเปิดดำเนินการแล้ว ส่วนอีก 5 แห่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและดำเนินการ ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนแม่กลอง เขื่อนนเรศวร และเขื่อนขุนด่านปราการชล ซึ่งในอนาคตคาดว่าจะมีการขยายไปยังเขื่อนต่าง ๆ ที่มีศักยภาพได้อีกกว่า 30 แห่ง”.

Credit: http://www.dailynews.co.th/agriculture/188946

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank