ไขข้อข้องใจ FTA ไทย-อียู ต้องทำเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ

Monday, 02 May 2011 Read 2511 times Written by 

map

สฤณี อาชวานันทกุล http://www.fringer.org นิตยสารสารคดี เดือนกุมภาพันธ์ 2553

หลังจากที่สหภาพยุโรป (อียู) ได้ยุติการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างอาเซียน-อียู และได้ปรับแนวทางมาเป็นการเจรจา FTA กับบางประเทศในอาเซียนแทน และหนึ่งในนั้น ก็คือ ไทย ซึ่งทำให้เกิดคำถามตามมามากมายว่า ไทยควรจะเจรจา FTA กับอียูหรือไม่ ไทยจะได้ประโยชน์อะไร จะเสียประโยชน์อะไร และมีการเตรียมความพร้อมรับมือมากน้อยแค่ไหน นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งรับผิดชอบการเจรจา FTA ไทย-อียู ได้เปิดโอกาสให้ “ASTVผู้จัดการรายวัน” สัมภาษณ์เพื่อตอบข้อสงสัยที่เกิดขึ้น

-ทำไมอียูถึงเลิกเจรจาFTAอาเซียน-อียู

การเจรจา FTA อาเซียน-อียู เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 เจรจากันมาหลายครั้ง และพอถึงเดือนมี.ค.2552 ก็ยังไม่มีความคืบหน้า เพราะอาเซียนแตกต่างกัน อีกทั้งอียูก็ไม่ค่อยแฮปปี้กับพม่า หากเดินต่อไปก็ไม่เกิดแน่ อียูเลยเปลี่ยนแนวทางใหม่ ขอเจรจา FTA กับประเทศอาเซียนบางประเทศแทน เสนอมา 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย

-พอรู้อย่างนี้ไทยได้ดำเนินการอย่างไร

เรากลับมาดูตัวเองว่า ถ้าจะเจรจา FTA ไทย-อียู จะทำยังไง จะโดดเจรจาเลยได้หรือไม่ คำตอบ คือ ไม่ได้ เพราะมีมาตรา 190 ของกฎหมายรัฐธรรมนูญค้ำอยู่ ต้องเปิดให้คนมีส่วนร่วม ต้องมีมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นกระบวนการที่ต้องทำ และเราก็เริ่มทำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด กล่าวคือ การเปิดเวทีสาธารณะให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมซึ่งตรงนี้เราเคยทำตอนที่เจรจากรอบอาเซียน-อียูมาบ้างแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยาก ก็แค่มาทำต่อให้ครอบคลุม

-รัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลเรื่องนี้

ท่านรัฐมนตรี (นางพรทิวา นาคาศัย) ได้ให้นโยบายว่าจะต้องเปิดให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดท่าทีในการเจรจา และได้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทำความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป และได้รับความเห็นชอบแล้ว

-คณะกรรมการฯ มีหน้าที่อะไร

หน้าที่หลักๆ ของคณะกรรมการฯ จะต้องกำหนดแนวทางในการรับฟังความคิดเห็น ซึ่งล่าสุดกำหนดมา 3 แนวทาง คือ หนึ่งเปิดกว้างให้ผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศแสดงความคิดเห็น สองจัดเวทีสาธารณะรับฟังความคิดเห็น และสาม พบปะหารือโดยตรงรายบุคคลและกลุ่มเฉพาะ และยังได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อรับฟังความเห็นจากภาคส่วนต่างๆ 4 คณะ ได้แก่ ภาคประชาสังคม ภาคเกษตร ภาคเอกชน และภาครัฐ ซึ่งเมื่อได้ท่าทีของแต่ละภาคส่วนแล้ว ก็จะสรุปเสนอให้กระทรวงพาณิชย์ และนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาต่อไป

- จะสรุปเมื่อใดและเป็นอย่างไร

คาดว่าเดือนพ.ค.หรือเดือนมิ.ย.นี้ น่าจะเสร็จ สิ่งที่จะเสนอรัฐบาลก็คงจะบอกว่าไทยควรจะเจรจา FTA ไทย-อียูหรือไม่ เจรจาแล้วได้ประโยชน์อะไร มีผลกระทบอะไร มาตรการเยียวยาเป็นแบบไหน เราจะมีคำตอบในเรื่องเหล่านี้ทั้งหมด แล้วเสนอให้รัฐบาลตัดสินใจว่าจะเจรจาต่อหรือไม่

- เราควรเจรจาFTAกับอียูหรือไม่

ก็อย่างที่บอก ตอนนี้อียูชัดเจนแล้วว่า จะเจรจากับอาเซียน 3 ประเทศ และเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา อียูได้เริ่มต้นเจรจากับสิงคโปร์ไปแล้ว กับเวียดนามก็ไปเจอกันมาแล้ว พร้อมที่จะเริ่มเจรจา แต่กับไทย อียูก็รอว่าเราจะเอายังไง ถ้าเรายังช้า มาเลเซียก็พร้อมจะเข้ามาเสียบแทน อยู่ในภาวะล่อแหลม ไทยต้องมีท่าทีให้ชัดเจน

- มีFTAไทยจะได้ประโยชน์จริงๆ

ก็ต้องบอกว่า ตอนนี้อียูมีสมาชิก 27 ประเทศ เป็นคู่ค้าอันดับ 3 รองจากอาเซียนและญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 รองจากอาเซียน และอียูกำลังเจรจา FTA กับประเทศในอาเซียน ถ้าไทยไม่ทำ เวียดนามทำ สิงคโปร์ทำ เราเสียเปรียบแน่ ที่สำคัญอียูยังจะทำ FTA กับประเทศที่ 3 เช่น ชิลี เม็กซิโก กลุ่มเมอร์โคซูร์ และกลุ่มประเทศที่เป็นอาณานิคมเดิมซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นคู่แข่งของไทย ถ้าไม่ทำ อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าและบริการไทยไปตลาดอียูได้

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank