Short-term Climate Change Mitigation: 1

Wednesday, 05 September 2012 Read 1656 times Written by 

05 09 2012 10

จากข่าวใน Washington Post เกี่ยวกับการลดผลกระทบของ Climate Change ในระยะสั้น โดยได้สัมภาษณ์จาก Drew Shindell ถึงผลงานวิจัยที่ได้ทดลอง simulate การลดการปล่อยก๊าซมีเธน (Methane) และ เขม่า (soot หรือ black carbon) ถึงจากการใช้ computer simulation มีผลการทดลองที่บ่งชี้ให้เห็นว่าถ้าหากลดการปล่อยก๊าซมีเธน และเขม่าจะสามารถชะลอการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในกลางศตวรรษนี้ได้เกือบ 1 องศาฟาเรนไฮท์ (Fahrenheit) หรือ 0.5 องศาเซลเซียส (Celcius)

ในการ simulate นั้นได้เลือกมาตราการที่มีเทคโนโลยีปัจจุบันอยู่เดิม แต่ยังไม่มีการแพร่หลาย อาทิ เลิกใช้เตาทำอาหารที่เผาไหม้ (eliminating wood-burning stoves), ลดการปล่อยไอเสียจากรถยนตร์ดีเซล (dampening emissions from diesel vehicles) หรือ ป้องกันการปล่อยก๊าซมีเธนในเหมืองถ่านหิน (capturing methane released from coal mines) โดยทั้งหมดได้ simulate ประมาณ 400 สถานการณ์ โดยมีมาตรการที่เห็นผลและสามารถทำได้ในปัจจุบันอยู่ 14 มาตรการ

ผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซมีเธน และเขม่า ได้แก่ คุณภาพอากาศที่ดีขึ้น ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคทางเดินหายใจและโรคหัวใจได้ต่อคนประมาณ 700,000 ถึง 4,700,000 คนต่อปี (ช่วงในการประมาณกว้างเนื่องจากความไม่แน่นอนของการทำนายผลกระทบจากมลภาวะทางอากาศ) และ ผลผลิตการเกษตรของโลกจะเพิ่มขึ้นได้ 30 ถึง 130 ตันต่อปี (เนื่องจากพืชสามารถซึมซับสารอาหารได้ดีขึ้นจากการลดของมลภาวะ)

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงด้วยคือการลดผลกระทบในระยะสั้นด้วยมาตรการเหล่านี้เป็นเพียงการแก้ไขสถานการณ์ในระยะสั้นเท่านั้น ถ้าหากยังไม่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวอันตรายจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกก็ยังมีอยู่

งานวิจัยที่กล่าวถึงนี้เป็นงานวิจัยที่ประสานงานกับ UNEP และหน่วยงานต่างๆ โดยงานวิจัยฉบับที่ได้กล่าวถึงในข่าวนี้ เป็นงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Science Journal โดยมีนักวิจัยจากหน่วยงานใหญ่ อาทิ NASA (สหรัฐฯ), Stockholm Environment Institute (สหรัฐฯ), Joint Research Centre of the European Commission (อิตาลี), International Institute for Applied Systems Analysis (ออกเตรีย), U.S. Environmental Protection Agency (สหรัฐฯ) รวมไปถึง Asian Institute of Technology ของไทยด้วย

และจากการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ได้เจอกับรายงานของ UNEP ที่เกี่ยวกับงานวิจัยนี้และงานวิจัยอื่นๆที่เกี่ยวโยงกัน โดยจะลงรายละเอียดคร่าวๆให้ในตอนต่อไปครับ

Credit: http://www.thaienergysolution.com

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank