โลกกำลังถูกเผา ไฟป่าครั้งใหญ่ลุกลามหลายทวีป

Monday, 21 September 2020 Read 1189 times Written by 

21092020 3

ไฟป่าครั้งใหญ่ทำลายป่าทั่วโลก ตั้งแต่แคลิฟอร์เนียจนถึงออสเตรเลียทำลายพื้นที่มีค่าทางระบบนิเวศมากมาย

- บราซิล - ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมปีนี้ไฟป่าได้ทำลายพื้นที่ 121,318 ตารางกิโลเมตร ในบราซิลโดยพื้นที่ไฟป่า 34,373 ตารางกิโลเมตรอยู่ในในภูมิภาคอเมซอนและ 18,646 ตารางกิโลเมตรในพื้นที่ชุ่มน้ำปันตานัล ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ในประเทศแถบละตินอเมริกาอันกว้างใหญ่อย่างบราซิลการเกิดไฟไหม้เป็นเรื่องธรรมดา โดยปกติจะเกิดขึ้นเมื่อเริ่มฤดูแล้งในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคมและยาวนานไปจนถึงเดือนตุลาคม สาเหตุมักเกิดจากภัยแล้งและการเปลี่ยนพื้นที่เพื่อใช้ในการเกษตร

ในปี 2019 ไฟที่โหมกระหน่ำในอเมซอนนำทำให้เกิดความตื่นตัวและรู้สึกเสียดายไปทั่วโลกและยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อฌาอีร์ โบลโซนารูประธานาธิบดีขวาจัดของบราซิลซึ่งไม่เชื่อปัญหาโลกร้อนและยังบอกว่ารายงานเรื่องไฟป่าในอเมซอนเป็น "เรื่องโกหก"

- อาร์เจนตินา - พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำปารานาในอาร์เจนตินาซึ่งถูกทำลายโดยความแห้งแล้งซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ใหญ่ที่สุดและมากที่สุดในโลกได้ถูกเผาทำลายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนตั้งแต่ต้นปี

กระทรวงสิ่งแวดล้อมกล่าวว่า 95 เปอร์เซ็นต์ของไฟป่านั้นเกิดขึ้นกับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นก้นบุหรี่, ไฟในแคมป์, ไฟที่ชาวนาเผาเพื่อเคลียร์ทุ่งหญ้าแห้งและทำให้เกิดหญ้าใหม่สำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ของพวกเขา

การขาดฝน, อุณหภูมิที่สูง และลมแรงส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายของไฟป่าด้วย โดยไฟไหม้ได้ส่งผลกระทบต่อ 11 จาก 23 จังหวัดในอาร์เจนตินาทำลายพื้นที่ 120,000 เฮกตาร์

- ออสเตรเลีย - ระหว่างปลายปี 2019 ถึงต้นปี 2020 ไฟป่าได้ทำลายพื้นที่ที่แห้งแล้งของออสเตรเลียซึ่งใหญ่กว่าโปรตุเกส คร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 30 คนและทำลายบ้านเรือนหลายพันหลัง ไฟเหล่านี้ยังทำให้สัตว์พลัดถิ่นหรือคร่าชีวิตสัตว์ไปเกือบสามพันล้านตัว

นักวิทยาศาสตร์บอกว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกหรือภาวะโลกร้อนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดไฟไหม้ป่าพุ่มไม้ที่ใหญ่ที่สุดและยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของออสเตรเลีย

น่านแซนด์บอกซ์ชวนคิดคำเรียกชื่อ Climate Change เป็นภาษาไทยชิงรางวัล 1 ล้านบาท
ไฟป่าสหรัฐทำนกร่วงฟ้าตายนับแสนตัว
ไฟดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลอนุรักษ์นิยมของออสเตรเลียให้ดำเนินการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเพื่อลดการพึ่งพาก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการใช้ถ่านหิน

ออสเตรเลียผ่านปีที่ร้อนและแห้งแล้งที่สุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2019 โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 41.9 องศาเซลเซียส บันทึกไว้ในช่วงกลางเดือนธันวาคม

- รัสเซีย - ฤดูร้อนปีนี้นักดับเพลิงทางอากาศของรัสเซียต้องต่อสู้กับไฟไหม้อย่างน้อย 197 ครั้งในทั่วประเทศรัสเซียซึ่งคิดเป็นพื้นที่รวมมากกว่า 43,000 เฮกตาร์ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคยาคุตีทางตะวันออกของไซบีเรีย

ยังมีพื้นที่อีก 380,000 เฮกตาร์ซึ่งถูกทำลายโดยไฟป่าเพราะรัฐบาลมีนโยบายของไม่ต่อสู้กับไฟซึ่งเกิดขึ้นในป่าห่างไกลที่ไม่มีคนอาศัยอยู่ของไซบีเรีย

แต่หลังจากที่ควันไฟลอยไปถึงเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของไซบีเรีย ประธานาธิบดีวลาดิเมีย ร์ปูตินได้ส่งกองทัพเข้ามาดับไฟเนื่องจากไฟไหม้ไปแล้วกว่า 3.2 ล้านเฮกตาร์

จากข้อมูลของบริการ Copernicus ของยุโรปเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พบว่าไฟไหม้ครั้งใหญ่ในไซบีเรียในฤดูร้อนนี้เลวร้ายมากขึ้นเพราะอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ซึ่งสูงกว่าปกติโดยเฉลี่ย 5 องศาเซลเซียสในฤดูกาลนี้ และดินที่มีความชื้นน้อยก็มีส่วนเช่นกัน

ผลจากไฟป่าครั้งนี้ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเป็นประวัติการณ์อีกด้วย และจากข้อมูลของ Copernicus ไฟป่าบางแห่งอาจเป็นผลมาจาก "ไฟซอมบี้" หรือไฟป่าที่เผาไม่ดับข้ามฤดูกาลโดยเผาอยู่ใต้ดินและหิมะค้างมาตั้งแต่ปี 2019

- อินโดนีเซีย - ในอินโดนีเซียไฟไหม้ครั้งใหญ่ในปี 2019 ทำลายป่าบนเกาะสุมาตราและบอร์เนียวทำลายพื้นที่ 1.6 ล้านเฮกตาร์ทำให้เกิดควันพิษและก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก

อินโดนีเซียส่งกำลังคนหลายหมื่นคนและเครื่องบินฉีดน้ำเพื่อรับมือกับไฟไหม้ครั้งแรกของปี 2020

โดยไฟมักถูกจุดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อเคลียร์ที่ดินเพื่อการเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน แต่จากนั้นก็ควบคุมไม่ได้

Photo by Kyle Grillot / AFP

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ https://www.posttoday.com/world/633452

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank