การปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก

Wednesday, 02 May 2012 Read 1306 times Written by 

13278902100

1. หลักการและเหตุผล
ตามที่ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดตั้งเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยทางวิชาการของนักวิจัยจากหน่วยงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเพื่อให้สมาชิกเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลทางวิชาการ และประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งกันและกัน อันจะนำมาซึ่งข้อมูลที่ทันสมัยและทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการป้องกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างทันสถานการณ์ และจากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายภาคส่วนในรูปแบบที่หลากหลายและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน โดยชุมชนในระดับรากหญ้าของประเทศกำลังพัฒนา จัดเป็นกลุ่มเสี่ยงลำดับต้นๆ ต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเป็นกลุ่มชนที่การดำรงชีวิตโดยรวม ต้องพึ่งพาฐานทรัพยากรธรรมชาติและผลผลิตที่มีความเปราะบางสูงต่อภูมิอากาศ ดังนั้น แนวทางการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นับเป็นมาตรการเร่งด่วนที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อหน่วยงานต่างๆ ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อบรรเทาหรือหยุดยั้งผลกระทบและความเสียหายตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพการปรับตัวของภาคส่วนต่างๆ ต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต การดำเนินการด้านการปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นเรื่องที่ต้องการงานวิจัยและข้อมูลองค์ความรู้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน เพื่อทำความเข้าใจให้ชัดเจนถึงสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในปัจจุบันและในอนาคต ผลกระทบและความล่อแหลมในเชิงพื้นที่ แนวทางการปรับตัวที่เหมาะสม และทางเลือกเชิงนโยบายที่สนับสนุนการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทั้งนี้ การสร้างความรู้ในเรื่องสำคัญเช่นนี้ ต้องการความเชื่อมโยงความรู้หลากหลายศาสตร์ในหลายมิติ และการเชื่อมโยงกับหน่วยงานการศึกษา หน่วยงานราชการระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านต่างๆ   
ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมจึงจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม หัวข้อ การปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลทางวิชาการ ระหว่างนักวิจัยและ นักวิชาการ ภายใต้เครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม กับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย นักวิชาการและประชาชนที่สนใจในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน อันจะนำไปสู่ความร่วมมือเพื่อศึกษาวิจัยด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อสร้างเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการและประสบการณ์การวิจัย
ด้านการปรับตัวของชุมชนต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2.2 เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือเชิงบูรณาการด้านงานวิจัยและหรือต่อยอดองค์ความรู้เพื่อนำไปสร้างแนวทางการปรับตัวของชุมชนที่เหมาะสมต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

3. ขอบเขตเนื้อหา/วิธีการดำเนินการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(1) การบรรยายและการอภิปรายเพื่อนำเสนอองค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการ และประสบการณ์การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหาร นักวิจัย นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(2) แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยและผู้เข้าร่วมเวที โดยมีวิทยากรกระบวนการ กระตุ้นและสร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4. ผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (กลุ่มเป้าหมาย)
4.1 สมาชิกเครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม นักวิชาการ/นักวิจัย จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/เอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 80 คน
4.2 ผู้บริหารและนักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวม 10 คน
จำนวนรวมทั้งสิ้น 90 คน

5. ผลสัมฤทธิ์ของงานที่คาดหวัง
5.1 ผลผลิต (Output)
5.1.1 จำนวนผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลวิชาการ ในด้านการปรับตัวของชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
5.1.2 ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัย ภายใต้เครือข่ายนักวิจัยสิ่งแวดล้อม ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
5.2 ผลลัพธ์ (Outcome)
- ผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในการปรับตัวของชุมชนที่เหมาะสมต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

6. ระยะเวลาดำเนินการ
วันที่ 23 พฤษภาคม 2555 เวลา 9.00 – 16.00 น. ณ โรงแรมเจริญธานี ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

7. วิธีการประเมินผล
ประเมินระดับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจของผู้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 ผู้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลองค์ความรู้และประสบการณ์การวิจัยซึ่งกันและกัน และจะก่อให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยร่วมกันในอนาคต
8.2 ผู้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม สามารถนำข้อมูลที่ได้จากเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปใช้ในการศึกษาวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9. หน่วยงานรับผิดชอบ
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank