โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554

Friday, 20 January 2012 Read 1405 times Written by 

โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554

1. หลักการและเหตุผล
เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานครอยู่ในขณะนี้ แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ ระดับน้ำลดลงจนอยู่ในสภาพปรกติ แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วม และที่สำคัญที่สุด คือประชาชน ที่ต้องเป็นผู้ประสบภัยมากกว่า 2 ล้านคน ผลจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีประชาชนตกงานหลายหมื่นคนอีกทั้งยังมี ผล ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่ายังขาดการทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ด้าน ประกอบกับขาดการประสานงานอย่างจริงใจและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งบางส่วนยังขาด ความรู้ ความเข้าใจ และเข้าไม่ถึงข้อมูลจากทางภาครัฐในการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมอย่างทันท่วงที นอกจากนี้แล้วปัญหา อีกประการหนึ่งคือ มาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐยังมีความสับสนและขาดความชัดเจนเรื่องเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นสถาบันวิชาการ และเป็นศูนย์กลาง การศึกษาค้นคว้า และวิจัยปัญหาเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ทั้งยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในด้านต่างๆ ออกสู่สาธารณชน และมีบทบาท ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงเล็งเห็นความจำเป็นและประโยชน์ในเรื่องนี้ จึงได้จัดงาน เสวนาวิชาการ เรื่อง “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงสาเหตุ และบทเรียนจากการเกิดและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำรับเตรียมความพร้อมในการรับมือในอนาคต

2. วัตถุประสงค์      
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับทราบถึงบทเรียนจากปัญหาน้ำท่วมกับการป้องกันในอนาคตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทราบนโยบายและการแก้ปัญหาด้านการจัดการความช่วยเหลือประชาชนอย่างมีเอกภาพปราศจากความขัดแย้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การให้ข่าวสารข้อมูลที่เป็นจริงต่อประชาชนอย่างจริงใจ ถูกวิธี รวดเร็วรวมทั้งทันต่อสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ประชาชน มีความพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที

3. วิธีการจัดเสวนา
การบรรยาย อภิปราย ซักถาม และข้อเสนอแนะ

4. วัน เวลาการเสวนา
วันพฤหัสที่ 26 มกราคม 2555 เวลา 8.00-12.00 น.

5. สถานที่จัดเสวนา
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. วิทยากรในการเสวนา
ดร.รอยล จิตรดอน
ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

นาย ชลิต ดำรงศักดิ์
อธิบดีกรมชลประทาน

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

ดร. ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการกรุงเทพหานคร

7. ผู้เข้าร่วมเสวนา
นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นิสิต นักศึกษา สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 250 คน

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับรู้และเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วมและบทเรียนด้านต่างๆเพื่อให้ผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขและเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมในอนาคต

9. หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร .02 218 8135 โทรสาร 02 218 8124

โครงการเสวนาวิชาการ เรื่อง สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554

1. หลักการและเหตุผล
เหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปี ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายจังหวัดรวมทั้งกรุงเทพมหานครอยู่ในขณะนี้ แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ ระดับน้ำลดลงจนอยู่ในสภาพปรกติ แต่ยังมีหลายพื้นที่ที่ยังคงมีน้ำท่วมขัง ทำให้ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของสังคม ได้แก่ ภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งถูกน้ำท่วม และที่สำคัญที่สุด คือประชาชน ที่ต้องเป็นผู้ประสบภัยมากกว่า 2 ล้านคน ผลจากมหาอุทกภัยในครั้งนี้ได้ส่งผลให้มีประชาชนตกงานหลายหมื่นคนอีกทั้งยังมี ผล ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่ายังขาดการทำงานร่วมกันอย่างมีเอกภาพของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ด้าน ประกอบกับขาดการประสานงานอย่างจริงใจและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชน ซึ่งบางส่วนยังขาด ความรู้ ความเข้าใจ และเข้าไม่ถึงข้อมูลจากทางภาครัฐในการเตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมอย่างทันท่วงที นอกจากนี้แล้วปัญหา อีกประการหนึ่งคือ มาตรการให้ความช่วยเหลือเยียวยาจากทางภาครัฐยังมีความสับสนและขาดความชัดเจนเรื่องเกณฑ์ การให้ความช่วยเหลืออีกด้วย ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะที่เป็นสถาบันวิชาการ และเป็นศูนย์กลาง การศึกษาค้นคว้า และวิจัยปัญหาเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม ทั้งยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการในด้านต่างๆ ออกสู่สาธารณชน และมีบทบาท ในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จึงเล็งเห็นความจำเป็นและประโยชน์ในเรื่องนี้ จึงได้จัดงาน เสวนาวิชาการ เรื่อง “สรุปบทเรียนมหาอุทกภัย 2554” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงสาเหตุ และบทเรียนจากการเกิดและการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำรับเตรียมความพร้อมในการรับมือในอนาคต

2. วัตถุประสงค์     
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับทราบถึงบทเรียนจากปัญหาน้ำท่วมกับการป้องกันในอนาคตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้ทราบนโยบายและการแก้ปัญหาด้านการจัดการความช่วยเหลือประชาชนอย่างมีเอกภาพปราศจากความขัดแย้งของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การให้ข่าวสารข้อมูลที่เป็นจริงต่อประชาชนอย่างจริงใจ ถูกวิธี รวดเร็วรวมทั้งทันต่อสถานการณ์ เพื่อช่วยให้ประชาชน มีความพร้อมรับมืออย่างทันท่วงที

3. วิธีการจัดเสวนา
การบรรยาย อภิปราย ซักถาม และข้อเสนอแนะ

4. วัน เวลาการเสวนา
วันพฤหัสที่ 26 มกราคม 2555 เวลา 8.00-12.00 น.

5. สถานที่จัดเสวนา
ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6. วิทยากรในการเสวนา
ดร.รอยล จิตรดอน
ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)

นาย ชลิต ดำรงศักดิ์
อธิบดีกรมชลประทาน

นายวิบูลย์ สงวนพงศ์
อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย

ดร. ธีระชน มโนมัยพิบูลย์
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครผู้ว่าราชการกรุงเทพหานคร

7. ผู้เข้าร่วมเสวนา
นักวิชาการจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นิสิต นักศึกษา สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป จำนวน 250 คน

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้เข้าร่วมเสวนาได้รับรู้และเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดน้ำท่วมและบทเรียนด้านต่างๆเพื่อให้ผู้ร่วมเสวนาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และร่วมกันหาแนวทางในการป้องกันแก้ไขและเตรียมรับมือกับภัยน้ำท่วมในอนาคต

9. หน่วยงานผู้รับผิดชอบ
สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร .02 218 8135 โทรสาร 02 218 812

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank