การประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. (NAC2013)

Tuesday, 19 February 2013 Read 2309 times Written by 

 สวทช.

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. (NAC2013)

 1 เมษายน 2556 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) จ.ปทุมธานี

การประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. (NAC2013)
การสัมมนาเรื่อง “นวัตกรรมและแนวปฏิบัติสีเขียว” มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในกลุ่มประเทศ AEC
(“Green Practices & Innovations” towards Low-Carbon Society in AEC)
วันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2556 เวลา 13:30 – 16:30 น.
ห้องประชุม CC-306 อาคารศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย (CC) จ.ปทุมธานี

การสัมมนาครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับภาพรวมนวัตกรรมสีเขียวและแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ AEC และตัวอย่างประสบการณ์
วิทยากร
รศ. ดร. ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ
ประธานคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการโปรแกรมสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
รองศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กรรมการ สถาบันสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
Board Member : Asia Pacific Roundtable on Sustainable Consumption & Production
กำหนดการ
13:00 - 13:30 น. ลงทะเบียน
13:30 - 13:45 น. กล่าวต้อนรับและนำเข้าสู่การสัมมนา
13:45 - 14:45 น. “นวัตกรรมและแนวปฏิบัติสีเขียว” มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ในกลุ่มประเทศ AEC
โดย รศ. ดร. ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ
ประธานคลัสเตอร์พลังงานและสิ่งแวดล้อม และผู้อำนวยการโปรแกรมสิ่งแวดล้อม
ที่ยั่งยืน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
14:45 - 15:00 น. รับประทานอาหารว่าง
15:00 - 16:30 น. ประสบการณ์นวัตกรรมสีเขียวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในตลาด AEC
โดย ผู้ประกอบการจากหน่วยงานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

จุดน่าสนใจของหัวข้อวิชาการ
ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบเป็นวงกว้างในปัจจุบัน การปรับตัวต่อผลกระทบที่ทุกองค์กรควรต้องเตรียมตัวเพื่อรับมือกับการเข้าสู่แนวปฏิบัติสีเขียว (Green Practices) และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมสีเขียว (Green Innovation) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร มุ่งสู่การเป็นองค์กรสีเขียว (Green Enterprise) และสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-Carbon Society) ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว จะนำไปสู่การลดโลกร้อนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน (Sustainability) การบรรยายในหัวข้อนี้ เน้นการนำเสนอข้อมูลภาพรวมของนวัตกรรมสีเขียวและแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของกลุ่มประเทศ AEC พร้อมตัวอย่างประสบการณ์จากผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank