อุทัยธานีอ่วม ทั้งใน-นอกเมืองท่วมหนัก-ทางหลวง 333 ทางเข้าเมืองจมน้ำแล้ว

Saturday, 17 September 2011 Read 1258 times Written by 

17_9_2011_1

อุทัยธานี - น้ำท่วมเมืองอุทัยฯ ทวีความรุนแรงต่อเนื่อง ทั้งเขตรอบนอก-ย่านเศรษฐกิจกลางเมือง ล่าสุดปริมาณน้ำเจ้าพระยา ทะลักท่วมถนนทางหลวงหมายเลข 333 ถนนสายหลักเข้าสู่จังหวัดเป็นระยะทางกว่า 10 กม. แขวงการทางต้องระดมเจ้าหน้าที่กั้นกระสอบทราย เพื่อให้รถสัญจรเข้า-ออกได้ 2 ช่องจราจร

ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำในจังหวัดอุทัยธานี ว่า สถานการณ์น้ำยังคงทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำสะแกกรังจำนวนมหาศาล จะไหลบ่าทะลักเข้าท่วมพื้นที่หลายตำบลในเขตอำเภอเมือง และทะลักเข้าท่วมพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเทศบาลเมืองอุทัยธานี จนสร้างความเสียหายเป็นจำนวนมากแล้ว


ล่าสุดน้ำเจ้าพระยายังไหลทะลักเข้าท่วมถนนทางหลวงหมายเลข 333 ที่เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร สายหลักเข้าสู่จังหวัดอุทัยธานี และเป็นถนนสายหลักจากจังหวัดอุทัยธานี เชื่อมสายเอเชีย มุ่งหน้าเข้าสู่กรุงเทพฯ และจังหวัดทางภาคเหนือ โดยระดับน้ำท่วมสูง 30 ซม.เป็นระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร ส่งผลให้รถเล็กไม่สามารถวิ่งผ่านเข้าออกได้ และหากปล่อยให้น้ำท่วมต่อไปจังหวัดอุทัยธานีจะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทันที ดังนั้นแขวางการทางจังหวัดอุทัยธานี จึงได้ระดมเจ้าหน้าที่ และคนงาน เร่งนำกระสอบทรายมาวางเป็นพนังกั้นน้ำตลอดแนวบนเกาะกลางถนน ตั้งแต่มหาวิทยาลัยรามคำแหงอุทัยธานี ถึง เชิงสะพานสมเด็จพระวันรัต ( สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ) เป็นระยะทาง 15 กิโลเมตร ปิดถนน 2 ช่องทางจราจรฝั่งขาออกในบริเวณดังกล่าวเพื่อกันน้ำเอาไว้ และให้อีก 2 ช่องทางจราจรฝั่งขาเข้าสามารถใช้เส้นทางเข้าออกจังหวัดอุทัยธานีได้ แต่ก็ส่งผลให้การจราจรรถติดเป็นทางยาว


อย่างไรก็ตามหากมีปริมาณน้ำสูงขึ้นอีก ก็จะมีการวางเสริมกระสอบทรายขึ้นอีก ซึ่งจะสามารถเสริมกระสอบทรายจากเกาะกลางได้อีก 4 ชั้น (40 ซม. ) แต่หากปริมาณน้ำมากเกินกว่านี้ ก็อาจต้องปิดถนนสายนี้อย่างเลี่ยงไม่พ้น


ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank