ตรังประกาศเขตภัยพิบัติ 6 อำเภอ น้ำท่วมสูง ต้องเจาะฝาบ้านเป็นทางเข้า-ออก

Tuesday, 08 December 2020 Read 575 times Written by 

08122020 4

เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.63 ผู้สื่อข่าวรายงานสถานการณ์น้ำท่วม ในจ.ตรังพบว่าที่ อ.นาโยง และ อ.รัษฎา ระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว คงเหลือ 4 อำเภอ ประกอบด้วย อ.ห้วยยอด อ.วังวิเศษ อ.เมือง และอ.กันตัง ซึ่งเป็นพื้นที่ท้ายน้ำก่อนลงสู่ทะเลอันดามัน ที่ยังมีน้ำท่วมขังอยู่ รวมราษฎรเดือดร้อน 6,091 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 1 ราย

ส่วนพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมขังนับหมื่นไร่ ขณะที่บ้านเรือนจำนวนมากยังถูกน้ำท่วมขังสูง และบางหลังน้ำท่วมจนมิดหลังคา ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งล่าสุดจังหวัดตรังประกาศเขตภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินน้ำท่วมแล้วทั้ง 6 อำเภอ เพื่อจะนำเงินงบประมาณมาใช้สำหรับการช่วยเหลือและเร่งฟื้นฟูพื้นที่ต่อไป

โดยเฉพาะที่ ต.บางรัก อ.เมืองตรัง ทั้งหมู่ 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 ถนน 4 สายทาง รถเล็กไม่สามารถผ่านได้ ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 80 ครัวเรือน ระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 2-3 เมตร โดยเฉพาะที่ ม.4 ต.บางรัก ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านท่าจีนริเวอร์ไซด์ ชาวบ้านรวมประมาณ 35 ครัวเรือน ได้รับความเดือดร้อน ต้องขนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ไปไว้ริมถนน เพราะทางเข้าหมู่บ้านระยะทางประมาณ 400 เมตร ถูกน้ำท่วมสูงประมาณ 2 เมตร บางจุดท่วมสูงถึง 3 เมตร โดยชาวบ้านระบุว่า ปริมาณน้ำในครั้งนี้มากกว่าปี 2559-2560

ทั้งนี้ ชาวบ้านต้องใช้เรือพายในการเข้าออกหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบ้านยกพื้น และบ้าน 2 ชั้น เพื่อหนีน้ำท่วม จึงต้องขึ้นอาศัยอยู่ชั้นบนของบ้าน แต่พบว่าบางหลังระดับน้ำยังท่วมสูงจนปริ่มชั้น 2 ขณะที่บ้านชั้นเดียวน้ำท่วมสูงเกือบมิดหลังคา

ในขณะที่พื้นที่เกษตรน้ำท่วมก็เต็มพื้นที่เช่นกัน และยังพบว่ามีชาวบ้านได้พายเรือเข้าไปแวะเวียนดูสิ่งของภายในบ้าน ซึ่งบางบ้านทำแพให้สุนัขอาศัยอยู่กลางน้ำและช่วยเฝ้าบ้าน ส่วนบ้านบางหลังต้องเจาะฝาผนังบ้านชั้น 2 เพื่อเป็นทางเข้าออกบ้าน เมื่อขึ้นจากเรือแทน

ที่มาและภาพประกอบ : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_5482789

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank