ฝนฟ้าเปลี่ยนไป แล้งหนักมาอีกแน่

Wednesday, 30 September 2020 Read 594 times Written by 

30092020 1

เหลือเวลาอีกไม่ถึงเดือน พื้นที่ประเทศไทยตอนบนแหล่งเก็บตุนน้ำใหญ่ของประเทศจะหมดฤดูฝนแล้ว...ดูท่าฤดูแล้งที่จะถึง บ้านเราคงจะเจอแล้งสาหัสเป็นแน่แท้

แม้ช่วงที่ผ่านมา อิทธิพลของพายุโนอึลที่พัดเข้าตรงมาที่ไทย จะทำให้บ้านเราชุ่มฉ่ำกันถ้วนทั่ว...หลายพื้นที่เจอน้ำท่วม

แต่ปริมาณน้ำฝนที่หล่นมาจากฟ้าปีนี้น้อยมาก แทบไม่ต่างจะปีก่อน ที่เกิดภัยแล้งกลางฤดูฝน

ปกติบ้านเราจะมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 1,572.5 มม. ปีที่แล้วฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี 15%

ปีนี้ผ่านมาแล้ว 9 เดือน ใกล้จะหมดฝน มีฝนตกทั่วประเทศน้อยค่าเฉลี่ย 10%

ที่สำคัญอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีอยู่ทั้งประเทศ สามารถเก็บกักน้ำได้ 70,925 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเก็บน้ำได้แค่ 5-2% เท่านั้นเอง

ปีที่แล้ว ว่าฝนแย่กว่าปีนี้ แต่ในช่วงเวลานี้ ในเขื่อนขนาดใหญ่ยังเก็บน้ำได้มากกว่า...มีอยู่ถึง 67%

คิดดูก็แล้วกัน ปีนี้ถึงฝนจะดีกว่าปีที่แล้ว แต่น้ำต้นทุนที่จะมีไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึงนี้ มันจะหนักหนาสาหัสกว่าปีก่อนมั้ย

นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกษตรกรไทยจะต้องยอมรับความจริงกันได้แล้ว ภาวะโลกร้อนได้ทำให้น้ำฝนจากฟ้าเปลี่ยนไปจากเดิม หวังพึ่งเทวดาไม่ได้อีกแล้ว ฤดูกาลเปลี่ยนไปชัดเจน

ปกติบ้านเรา ฤดูฝนจะเริ่มกลางเดือนพฤษภาคมไปจบเอากลางเดือนตุลาคม...แต่ช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะร่องความกดอากาศต่ำ หรือที่เรียกกันว่า “แนวร่องที่ก่อให้เกิดฝน” ที่พาดผ่านภาคเหนือของประเทศไทย จะขยับไปอยู่ทางตอนใต้ของจีน จากนั้นร่องฝนจะขยับเลื่อนลงมาโปรยน้ำจากฟ้าให้บ้านเราอีกครั้งหนึ่ง ภาวะฝนทิ้งช่วงถึงจะหมดไป

แต่ปัจจุบันมันไม่ได้เป็นอย่างนั้นแล้ว ภาวะฝนทิ้งช่วงเกิดนานกว่าเก่า หากใครเฝ้าติดตามดูแผน ที่อากาศ ในเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยามาโดยตลอด จะสังเกตพบว่า ในช่วง 5-6 ปีหลังมานี่ พฤติกรรมการขยับขึ้นลงของร่องฝนนั้นได้เปลี่ยนไปอย่างมาก

จากที่เคยขยับไปอยู่ทางใต้ของจีน 2 สัปดาห์ ได้เปลี่ยนมาเป็นขยับขึ้นไปสิงสถิตย์นาน 1-2 เดือน และไม่ขึ้น ขยับขึ้นไปแค่ทางใต้ของจีนเท่านั้น ยังขยับขึ้นไปถึงตอนกลางของจีนกันเลยทีเดียว...อย่างปีนี้ จีนเกิดน้ำท่วมใหญ่บริเวณภาคกลางของประเทศ ถึงขั้นตอนระเบิดเขื่อนระบายน้ำกันเลยทีเดียว ในขณะที่บ้านเราแล้งฝน

นอกจากร่องฝนจะไปค้างเติ่งอยู่ในจีนนานแล้ว ครั้นถึงเวลาขยับลงมาบ้านเรา จากเดิมที่ค่อยๆขยับลงมาช้า ได้เปลี่ยนมาเป็นขยับกันแบบพรวดพราดลงมาอย่างรวดเร็วอีกต่างหาก

แม้ในขณะนี้จะยังไม่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะออกมาให้ข้อมูลยืนยันในเรื่องนี้ก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่เกษตรกรไทยผู้หวังพึ่งพาแต่น้ำจากฟ้าเป็นหลัก ต้องระมัดระวังเตรียมตัวไว้ให้พร้อม เพราะวันนี้การทำเกษตรไม่อาจจะหวังพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติได้อีกต่อไป

หากจะอยู่รอดในอาชีพเกษตร ต้องเตรียมความพร้อมเรื่องน้ำไว้ให้ดีๆ ต้องมีแหล่งไว้เป็นของตัวเองจะดีที่สุด แม้แต่ระบบชลประทานก็ยังไม่อาจจะหวังพึ่งได้มาก นอกจากเสียเวลารอนานกว่าจะมีทั่วถึง น้ำยังมีให้เขื่อนเก็บกักได้น้อยลง

สิ้นฤดูฝนแทบไม่มีปีไหนเลยที่เขื่อนขนาดใหญ่สามารถเก็บกักน้ำได้เกิน 80% ยกเว้นปีน้ำท่วมใหญ่ 2554 เท่านั้นเอง

แถมค่าเฉลี่ยการเก็บน้ำของเขื่อนขนาดใหญ่ เก็บได้น้อยลงมาเรื่อยๆ ช่วง 5 ปีก่อน (2553-57) เก็บได้ 70%...5 ปีหลังมานี่ (2559-63) เก็บได้เฉลี่ย 66%

ปีนี้ ตอนนี้ เขื่อนขนาดใหญ่ เก็บน้ำได้ 52% แย่กว่าปี 2556-58 ที่ก่อให้เกิดให้แล้งสาหัส 3 ปีติดต่อกันในปี 2557-59 ซะอีก...แล้วแล้งนี้จะรอดกันได้แค่ไหน ถ้ายังไม่คิดช่วยเหลือตัวเอง.

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ https://www.thairath.co.th/news/local/1940565

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank