แนะวิธีดูแล'โรคน้ำกัดเท้า' ภัยร้ายอันตรายช่วงหน้าฝน

Wednesday, 02 September 2020 Read 620 times Written by 

02092020 1

กรมการแพทย์ แนะนำวิธีการดูแล "โรคน้ำกัดเท้า" ภัยร้ายช่วงหน้าฝน ชี้ควรหลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนานๆ ทำความสะอาดเท้า ง่ามเท้า ขอบเล็บทุกครั้งหลังลุยน้ำด้วยน้ำและสบู่ หากติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง รีบพบแพทย์ทันที

จากกรณีที่ช่วงเมื่อคืนที่ผ่านมาจนถึงเช้าวันนี้ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบหลายพื้นมีฝนตกหนักและลมแรง บางพื้นที่ฝนตกหนักนานกว่า 1 ชั่วโมง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขัง ขณะที่ชาวโซเชียลต่างแชร์สภาพน้ำท่วมขัง พร้อมแจงเตือนให้ทุกคนเผื่อเวลาก่อนออกจากบ้านไว้ เพราะตอนนี้บางพื้นที่เริ่มมีรถติดสะสมอย่างหนัก ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ กล่าวว่า “ในช่วงหน้าฝนหรือในพื้นที่อุทกภัยมีน้ำท่วมขังมักจะมีปัญหาสุขภาพตามมาได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ ที่พบบ่อย เช่น โรคพยาธิไชเท้า โรคฉี่หนู ผื่นผิวหนังอักเสบ แมลงหรือสัตว์มีพิษกัดต่อย เป็นต้น รวมถึงโรคผิวหนังบางโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบได้ในช่วงหน้าฝน คือ โรคน้ำกัดเท้า ซึ่งถือเป็นโรคที่ประชาชนไม่ควรละเลย และควรมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่าง ๆ ที่จะตามมาได้

โรคน้ำกัดเท้าเกิดจากการระคายเคืองทางผิวหนัง โดยจะมีลักษณะโรคได้หลากหลาย ได้แก่ มีการอักเสบ ระคายเคืองและติดเชื้อ ขึ้นกับช่วงเวลาหรือความถี่ที่ผิวหนังสัมผัสน้ำ ผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ เซลล์ผิวหนังจะอุ้มน้ำ ทำให้บวมและเปื่อยฉีกขาดได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณที่มีการเสียดสี เช่น ง่ามนิ้วเท้า จึงควรสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติให้รีบพบแพทย์เฉพาะทาง ไม่ควรซื้อยามาทาหรือรับประทาน เพราะอาจเกิดอันตรายได้

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคน้ำกัดเท้า จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก เกิดในช่วง 1-3 วันแรก ผิวหนังจะเปื่อยเมื่อแช่น้ำ ผิวมีลักษณะแดง มีอาการ คัน แสบ ในระยะที่สอง ช่วง 3-10 วัน อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรีย ผิวหนังในระยะนี้จะมีอาการแดง บวม ปวดเจ็บ มีหนองหรือน้ำเหลืองซึม สำหรับระยะสุดท้าย เกิดขึ้นในช่วง 10-20 วัน ถ้าผิวหนังแช่น้ำต่อเนื่อง จะมีลักษณะแดง คัน มีขุยขาว เปียกและเหม็น ผิวหนังจะเปื่อยเป็นสีขาว อาจเป็นการติดเชื้อรา

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ป่วยโรคน้ำกัดเท้า แพทย์ผิวหนังแนะนำให้ปฏิบัติตัวดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำนานๆ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ให้ใส่รองเท้าบูท และเมื่อขึ้นจากน้ำให้ล้างเท้าด้วยน้ำสบู่ เช็ดเท้า ง่ามนิ้วเท้าให้แห้งอยู่เสมอ และทาครีมบำรุงผิว

2. ถ้ามีผื่นแดงเล็กน้อยคัน, แสบ ควรทายากลุ่มสเตียรอยด์ เช่น 0.02% Triamcinolone cream วันละสองครั้งจนผื่นหาย

3. ถ้ามีผื่นและมีรอยเปื่อยฉีกขาดของผิว มีอาการบวมแดง ปวดเจ็บ หรือมีหนอง ซึ่งเป็นอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรงขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์

4.ถ้าเท้าแช่น้ำนานหลายสัปดาห์ต่อเนื่องอาจจะทำให้ผิวหนังติดเชื้อราที่ง่ามนิ้วเท้าเกิดเป็นผื่นขุยเปียกขาว ควรใช้ยาทารักษาเชื้อรา เช่น ขี้ผึ้งวิธฟีล (Whitfield’s ointment) หรือโคลไทรมาโซลครีม (Clotrimazole cream)

5.ถ้ามีบาดแผลควรทำแผลและทายาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน (Betadine)

6. ควรระวังการตัดเล็บเท้าเพราะอาจทำให้เกิดบาดแผล ซึ่งจะเป็นทางเข้าของเชื้อโรคได้ และสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคน้ำกัดเท้า ควรทำความสะอาดเท้า, ง่ามเท้า, ขอบเล็บทุกครั้งหลังลุยน้ำด้วยน้ำและสบู่ และเช็ดเท้าให้แห้งอยู่เสมอ

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : กรมการแพทย์
Credit เนื้อหาและภาพประกอบ https://www.dailynews.co.th/regional/792976

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank