ผู้ว่าลุยเช็คหนองงูเห่าเร่งพัฒนาแหล่งน้ำ รับมือแล้ง

Tuesday, 07 January 2020 Read 603 times Written by 

g 2020 14

เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ จ.นครพนม ปัญหาภัยแล้ง ยังส่งผลกระทบต่อเนื่อง นอกจากระดับน้ำโขงจะลดลงรวดเร็วล่าสุดอยู่ที่ระดับประมาณ 1 เมตร ยังส่งผลกระทบให้ลำน้ำสาขาส่ายหลักของแม่น้ำโขง อาทิ ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม และลำน้ำก้ำ เริ่มมีปริมาณน้ำต่ำ ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะพื้นที่นาปรัง บางพื้นที่เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยทางด้านจังหวัดนครพนม ได้ประสานหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทั้ง 12 อำเภอ เร่งจัดหาแหล่งน้ำสำรอง และขุดเจาะบ่อน้ำใต้ดิน เพื่อรับมือภัยแล้ง ที่ยังเหลือระยะเวลาอีกหลายเดือน ป้องกันพื้นที่การเกษตร รวมถึง นาปรังเสียหาย ไปจนถึงวางแผนขุดลอกพัฒนาแหล่งน้ำ ทำคลองส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร

ขณะเดียวกันทางด้าน นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม ได้นำคณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ ตรวจสอบมาตรฐาน ความพร้อมการดำเนินโครงการขุดลอกคลองน้ำหนองงูเห่า ในพื้นที่ บ้านบะหว้าต.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เนื่องจากเดิมเป็นพื้นที่การเกษตร กว่า 1,200 ไร่ แต่ในช่วงฤดูแล้งไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทางจังหวัดนครพนม จึงได้ ประสานงานร่วมกับ อ.นาหว้า เสนอของบประมาณ 1 ในจำนวน 371 โครงการ จากทั้งหมดงบประมาณ เกือบ 200 ล้านบาท นำมาพัฒนาขุดลอก หนองงูเห่า เป็นเงินจำนวนประมาณ 3.8 แสนบาท เป็นลักษณะคลองส่งน้ำ ระยะทางยาวประมาณ 900เมตร ความลึกประมาณ 3 เมตร รับน้ำมาจากลำน้ำอูน เพื่อระบายน้ำลงคลองส่งน้ำหนองงูเห่า ไปยังพื้นที่การเกษตร ให้เกษตรกร สามารถนาปรังได้ ในฤดูแล้ง ซึ่งหลังดำเนินการแล้วเสร็จ เบื้องต้น เกษตรกรในพื้นที่ สามารถปรับพื้นที่ทำการเกษตรนาปรัง ประมาณ 400 ไร่ และมีน้ำเพียงพอใช้จนกว่านาปรังจะเก็บเกี่ยวแล้วเสร็จ

นายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครพนม เปิดเผยว่า สำหรับพื้นที่ จ.นครพนม ในช่วงนี้ ถือว่า เริ่มมีปัญหาภัยแล้ง ทั้งน้ำโขง ลำน้ำสาขา ลดระดับรวดเร็ว แต่ทั้งนี้ยังยืนยัน ว่า ยังไม่ได้รับผลกระทบขั้นวิกฤติ เนื่องจากพื้นที่ จ.นครพนม หลายอำเภอ มีโครงการชลประทาน และมีอ่างเก็บน้ำหลายจุด ที่จะผันน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เช่นเดียวกับพื้นที่ อ.นาหว้า ทาง จ.นครพนม ได้ สนับสนุนงบประมาณลงพื้นที่ เร่งขุดลอก พัฒนาแหล่งน้ำให้สามารถผันนำไปยังพื้นที่การเกษตร รวมถึง เก็บกักน้ำไว้ใช้ในการเกษตร รวมถึงเพื่อการอุปโภคบริโภค จนกว่าฤดูฝนจะมาถึง โดยในปีงบประมาณ 2562 รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณ พัฒนาแหล่งน้ำรับมือภัยแล้ง เกือบ 200 ล้านบาท และมีการดำเนินโครงการ ทั้ง 12 อำเภอ ล่าสุดเกือบแล้วเสร็จทุกโครงการ รวมกว่า 371 โครงการ หากแล้วเสร็จจะสามารถช่วยเหลือ มีแหล่งเก็บกักน้ำจนถึงฤดูฝน และแก้ปัญหาความเดอืดร้อนในปีต่อไป ที่สำคัญทางจังหวัดนครพนม ยังได้วางแผนในการขุดเจาะบ่อบาดาลพื้นที่ประสบปัญหา ไปจนถึงการสำรวจเปิดทางน้ำกลางน้ำโขง ในจุดที่เกิดสันดอนทรายขวางทางน้ำ อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่า ยังสามารถรับมือได้ และยังมีน้ำเพียงพอ สำหรับพื้นที่การเกษตร และน้ำในการอุปโภคบริโภค

ข่าว/ภาพ ประทีป วชิระธัญญากุล นครพนม
Credit: https://www.komchadluek.net/news/local/408953?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=local

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank