หลายพื้นที่ภาคเหนือยังคงได้รับผลกระทบน้ำท่วม

Sunday, 24 July 2011 Read 1133 times Written by 

แม่น้ำเมย บริเวณชายแดนไทย - พม่า ด้านอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ยังคงเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน และ ท่าเรือริมน้ำ ส่งผลให้การขนส่งสินค้าเป็นไปด้วยความยากลำบาก ส่วนที่จังหวัดเชียงรายระดับน้ำแม่น้ำโขงที่เพิ่มสูงขึ้นกัดเซาะตลิ่งทรุดตัวเป็นแนวยาวเกือบ 100 เมตร อาคารจุดผ่อนปรนริมน้ำแตกร้าวเสียหาย

 

24_7_2011_2

สภาพของอาคารจุดผ่อนปรนบ้านแจมป๋อง ตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ที่ทรุดตัวแตกร้าว ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าเข้าไปอยู่ภายในอาคาร เนื่องจากเกรงจะได้รับอันตราย หลังจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงเพิ่มสูงขึ้น และไหลกัดเซาะตลิ่งจนทรุดตัวเป็นทางยาวเกือบ 100 เมตร

นายประเสริฐ จิตต์พลีชีพ นายอำเภอเวียงแก่น เปิดเผยว่า นอกจากระดับน้ำแม่น้ำโขงที่เพิ่มระดับสูงขึ้นแล้ว การก่อสร้างพนังกั้นน้ำกันตลิ่งพังที่อยู่ทางตอนเหนือห่างออกไปประมาณ 200 เมตร ซึ่งทำให้กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ จนกัดเซาะตลิ่งบริเวณนี้ แต่ยังไม่กระทบกับบ้านของชาวบ้านตามริมตลิ่ง

ที่จังหวัดตาก ระดับน้ำในแม่น้ำเมยที่ยังคงเอ่อล้นเข้าท่วมชุมชน และ ท่าเรือ ทั้งฝั่งไทย และพม่า ส่งผลให้ผู้ประกอบการสินค้าชายแดน ต้องขนย้ายสินค้าไปอยู่บนที่สูง ขณะที่รถบรรทุกสินค้าไม่สามารถนำสินค้าไปส่งยังท่าข้ามได้ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลท่าสายลวด ใช้รถดับเพลิงเร่งสูบน้ำเมยที่เอ่อล้นเข้าท่วมบริเวณใกล้เคียงตลาดริมเมย เพื่อระบายน้ำ

ที่จังหวัดพิจิตร เจ้าหน้าที่ชลประทานพิจิตร ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำที่ใช้สูบน้ำช่วยเหลือชาวนาในพื้นที่ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม และตำบลวังจิก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง หลังน้ำจากแม่น้ำยม เข้าท่วมนาข้าวเสียหายไปแล้วกว่า 4,000ไร่ โดยเจ้าหน้าที่ต้องสูบน้ำตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันน้ำท่วมนาข้าวอีกกว่า 10,000 ไร่ที่เหลืออยู่

เช่นเดียวกับที่จังหวัดนครสวรรค์ น้ำในแม่น้ำน่าน และแม่น้ำยม เอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรในหลายตำบลของอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ โดยชาวบ้านบางส่วนร้องขอให้เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท เร่งระบายน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อน ก่อนที่นาข้าวหลายพันไร่ที่ใกล้เก็บเกี่ยวจะได้รับความเสียหายไปมากกว่านี้


ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank