พายุไห่ถางมุ่งหน้าขึ้นฝั่งภาคกลางเวียดนาม

Sunday, 25 September 2011 Read 932 times Written by 

25_9_2011_3

เตื่อยแจ๋ - เมื่อเวลาประมาณ 01.30 นาฬิกาของวันที่ 25 ก.ย.พายุดีเปรสชันเขตร้อน ในทะเลตะวันออก ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุระดับ 4 หรือ พายุโซนร้อนไห่ถาง (Hai Tang) อยู่ห่างจากชายฝั่ง จ.กว๋างจิ และ จ.กว๋างหงาย ในภาคกลางของเวียดนาม ราว 430 กม.

ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางวัดได้ 62-74 กม.ต่อชั่วโมง และลมกระโชกแรงสูงสุดที่ 75-88 กม.ต่อชั่วโมง คาดว่า พายุจะเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อยด้วยความเร็ว 10 กม.ต่อชั่วโมง ในอีก 24 ชม.ข้างหน้า


ในเวลาประมาณ 1.00 นาฬิกา ของวันที่ 26 ก.ย.ศูนย์กลางพายุจะอยู่ห่างไปทางตะวันออก-ตะวันออกเฉียงเหนือราว 200 กม.จาก จ.กว๋างบิ่งห์ และ จ.กว๋างนาม ด้วยความเร็วลมสูงสุดที่ 75-88 กม.ต่อชั่วโมง และลมกระโชกแรงสูงสุดที่ 89-102 กม.ต่อชั่วโมง


นอกจากนั้น กระแสลมแรงจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะพัดปกคลุมเหนือพื้นที่ทางตอนใต้ของทะเลตะวันออก รวมทั้งทะเลบริเวณหมู่เกาะเจื่องซา (สแปร็ตลีย์) ชายฝั่งภาคกลางของเวียดนาม ระหว่าง จ.บิ่งทวน ไปถึง จ.ก่าเมา และอ่าวไทย คาดว่า จะมีกระแสลมแรงประมาณ 75-88 กม.ต่อชั่วโมง รวมทั้งพายุฝนและคลื่นลมแรง


ส่วนชายฝั่งตั้งแต่ จ.ห่าติ๋งห์ ไปจนถึง จ.กว๋างนาม จะมีกระแสลมแรงตั้งแต่ 39-49 กม.ต่อชั่วโมง ไปจนถึง 103-117 กม.ต่อชั่วโมง ในวันที่ 26 ก.ย.นี้


คณะกรรมการป้องกันและควบคุมน้ำท่วมใน จ.กว๋างหงาย มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในทุกระดับเตรียมพร้อมมาตรการป้องกันรับมือกับพายุที่กำลังเคลื่อนตัวเข้ามา และเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ช่วยกันเคลื่อนย้ายเรือประมงออกจากบริเวณอันตรายโดยเร็วที่สุด


เจ้าหน้าที่ระบุว่า มีเรือประมงประมาณ 204 ลำ และชาวประมงประมาณ 3,249 คน กำลังหาปลาอยู่นอกชายฝั่ง จ.กว๋างหงาย


ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank