เมืองพิตต์เบิร์กของสหรัฐเผชิญน้ำท่วมฉับพลัน

Saturday, 20 August 2011 Read 975 times Written by 

20_8_2011_1

เมืองพิตต์เบิร์กในรัฐเพนซิลวาเนียของสหรัฐเผชิญกับน้ำท่วมฉับพลัน ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน

พายุ 2 ลูกที่พัดถล่มเมืองพิตต์เบิร์กในรัฐเพนซิลวาเนียของสหรัฐอเมริกาในเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ทำให้กระแสไฟฟ้าขัดข้องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โรงพยาบาลต้องใช้ไฟฟ้าสำรอง ฝนที่ตกอย่างหนักทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน

โดยจุดที่ระดับน้ำท่วมสูงที่สุดวัดได้ 3 เมตร รถยนต์ 18 คันจมอยู่ในน้ำหน่วยกู้ภัยสามารถช่วยคนที่ติดอยู่ในรถออกมาได้ 11 คน ทั้งนี้ มีรายงานผู้เสียชีวิต 4 คน ในจำนวนนี้เป็น 3 คนแม่ลูกที่รถยนต์จมอยู่ใต้น้ำท่วมจนมิดหลังคา และไม่สามารถหนีออกจากรถได้ทัน

ระดับน้ำท่วมค่อยๆ ลดลงในช่วงเย็นวันเดียวกัน แต่ถนนหลายสายยังต้องปิดการสัญจรอยู่ เพื่อทำความสะอาด และลากจูงรถที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ส่วนที่สนามบินนานาชาติพิตต์เบิร์กต้องระงับการบริการชั่วคราว เนื่องจากมีฝนฟ้าคะนอง

ขอขอบคุณ http://news.thaipbs.or.th
 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank