'วราวุธ'แสดงจุดยืนไทยในเวทีโลก พร้อมจับมือนานาชาติลุยแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศ

Tuesday, 10 December 2019 Read 709 times Written by 

10122019 9

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 (COP25) ระดับผู้นำ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ธันวาคม 2562 ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน โดยมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุมกว่า 197 ประเทศทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มองค์กรเพื่อการป้องกันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้าร่วม คาดว่ามีผู้ร่วมงานทั้งสิ้นกว่า 29,000 คน ทั้งนี้ การประชุมระดับผู้นำประเทศจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 11 ธันวาคม 2562 ซึ่งก่อนหน้านี้มีการจัดประชุมระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศรัฐภาคีระหว่างวันที่ 2-9 ธันวาคม 2562 เพื่อเจรจาหาข้อสรุปก่อนเสนอระดับผู้นำให้ความเห็นชอบ ต่อไป


นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะโฆษกประจำกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผย ณ สถานที่จัดประชุม COP25 ราชอาณาจักรสเปนว่า การประชุมครั้งนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวว่า “ประเทศไทยในฐานะประเทศรัฐภาคีสมาชิกภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ได้แสดงจุดยืนและท่าที่ประเทศไทยในการร่วมลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งประเทศได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ในยุทธศาตร์ชาติ 20 ปี อีกทั้งยังมีองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่รับผิดชอบเรื่องการคำนวณค่าคาร์บอนเดรดิต และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานกลางในการประสานงานภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อรับผิดชอบต่อการบริหารจัดการครอบคุมในทุกมิติ อันเป็นแนวทางสำคัญในการจัดการก๊าซเรือนกระจกของโลก

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 14 ในปี 2017 ในภาคพลังงานและภาคขนส่ง ซึ่งเป็น 2 เท่าของที่ NAMA กำหนด และช่วงหลังปี 2020 ประเทศไทยจะเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของระบบการบริหารจัดการด้านการปรับตัวและการป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศตามเป้าหมายข้อตกลงปารีส นอกจากนี้ ประเทศไทยได้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและยุทธศาสตร์การพัฒนาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระยะยาว อีกทั้งได้ดำเนินการเพื่อปรับปรุงด้านงบประมาณในการให้การสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนผ่านกองทุนสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง ยังมุ่งเชื่อมโยงไปยังมิติอื่น ๆ เช่น การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการลดสารมลภาวะอากาศที่มีอายุสั้น และขยะทะเลด้วย

อนึ่ง ตนได้ประกาศต่อประเทศสมาชิกว่า ประเทศไทยไม่เคยเหน็ดเหนื่อยในการแสดงบทบาทของกลุ่มประเทศอาเซียนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านการรับรอง ความร่วมมืออาเซียนต่อ United Nations Climate Action Summit และ การประชุม COP25 ในครั้งนี้ สิ่งที่ได้ประกาศให้ทั่วโลกได้รับทราบ ประเทศไทยในฐานะประธานกลุ่มประเทศอาเซียนในปี 2562 ได้ตกลงในการลดการใช้พลังงานของกลุ่มประเทศอาเซียนได้ลดลงกว่าร้อยละ 21.9 โดยเปรียบเทียบกับช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา สุดท้าย ได้กล่าวย้ำว่า ประเทศไทยจะยังคงเดินหน้าร่วมกับกลุ่มประเทศรัฐภาคีในการป้องกันสภาพภูมิอากาศเพื่อโลกของเราและคนในยุคต่อไป

ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวในฐานะรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยว่า นอกจากตนแล้ว ผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ เลขาธิการสำนักงาน นโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมทรัพยา กรทางทะเลและชายฝั่ง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นายสุรชัย อจลบุญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเจ้าหน้าที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมภาคเอกชน ตลอดจนมหาวิทยาลัยเดินทางเข้าร่วมประชุม พร้อมจัดนิทรรศการและการประชุมข้างเคียงในครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้ หลายประเทศได้พยายามแสดงจุดยืนและท่าที่ของประเทศในการป้องกันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ได้หารือถึงหลักการคิดคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมหาข้อสรุปเป้าหมายและแนวทางการป้องกันและการปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ตนในฐานะผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำแนวนโยบายของรัฐบาลและท่านรัฐมนตรีมากำหนดเป็นยุทธศาสตร์ให้หน่วยงานและจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อให้สามารถดำเนินการให้บรรลุต่อเป้าหมายของประเทศและข้อตกลงร่วมกันของประเทศรัฐภาคีกำหนดไว้

ปลัด ทส. กล่าวต่อไปว่า การป้องกันและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ หรือของโลกจะต้องอาศัย ความร่วมมือของทุกฝ่ายอย่างจริงจัง การผลิตก๊าซเรือนกระจกมาจากกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ก๊าซเรือนกระจกเกิดการสะสมมาเป็นระยะเวลานานจนสร้างผล กระทบมากมายผ่านปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เราเห็นไม่เว้นแต่ละวัน ผลจากการกระทำของมนุษย์กำลังย้อนกลับมาทำร้ายพวกเราเอง ดังนั้น การลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของทุกคน เมื่อทุกคนเป็นต้นเหตุสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น ทุกคนก็ควรร่วมกันแก้ไขเช่นกัน

Credit : https://www.naewna.com/local/459386

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank