สึนามิญี่ปุ่นทำแผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาแตกเป็นก้อนใหญ่เท่าแมนฮัตตัน

Wednesday, 10 August 2011 Read 902 times Written by 

10_8_2011_2

เอเอฟพี - สึนามิที่ซัดถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ได้แผ่คลื่นเข้าโจมตีแผ่นน้ำแข็งแห่งหนึ่งในแอนตาร์กติกา ที่อยู่ห่างออกไปถึง 13,000 กิโลเมตร จนทำให้บางส่วนของแผ่นน้ำแข็งแตกออกเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่จำนวนมาก และก้อนน้ำแข็งก้อนมหึมาที่สุดนี้มีขนาดเท่ากับแมนฮัตตันเลยทีเดียว องค์การอวกาศยุโรป(อีเอสเอ)เปิดเผยเมื่อวันอังคาร(9)

องค์การอวกาศยุโรปเปิดเผยว่าเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติเอนวิแซทตรวจพบก้อนน้ำแข็งแตกออกมาจากแผ่นน้ำแข็งซัลซ์เบอร์เกอร์ และเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พบว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ค่อยๆลอยสู่ทะเลรอสส์

ทั้งนี้ก้อนน้ำแข็งมหึมาที่สุดที่วัดได้มีความยาว 9.5 กิโลเมตร กว้าง 6.5 กิโลเมตร ทำให้มันมีขนาดใหญ่กว่าพื้นที่ของแมนฮัตตัน ย่านสำคัญของนิวยอร์กเล็กน้อย และเชื่อว่ามันน่าจะมีความหนาประมาณ 80 เมตร

สึนามิสูงอย่างน้อย 23 เมตรที่กำเนิดขึ้นจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวระดับ 9.0 ซัดถล่มญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 11 มีนาคม คร่าชีวิตผู้คนจำนวนมากและก่อวิกฤตนิวเคลียร์ ณ โรงไฟฟ้าฟูกูชิมะ ไดอิจิ

ผู้เชี่ยวชาญในสหรัฐฯ วิเคราะห์ภาพถ่ายที่ได้จากดาวเทียมเอนวิแซทและชี้ว่าคลื่นมหันตภัยเหล่านั้นอาจสูงเพียงแค่ 30 เซนติเมตรขณะที่มันซัดข้ามมหาสมุทรมาไกลกว่า 13,000 เมตร อย่างไรก็ตามความเคลื่อนไหวของคลื่นที่ซัดขึ้นลงเป็นจังหวะก็เพียงพอที่จะก่อความเครียดภายในโครงสร้างที่ไม่ยืดหยุ่นของแผ่นน้ำแข็ง จนทำให้ก้อนบริเวณริมแผ่นน้ำแข็งแตกออกมา

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank