สถานที่สำคัญหลายเมืองทั่วโลกพร้อมใจปิดไฟ ‘เอิร์ธอาวร์’ รณรงค์สู้โลกร้อน

Monday, 27 March 2017 Read 952 times Written by 

27 03 2017 7

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า สถานที่สำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ในหลายๆ เมืองของโลก อาทิ ซิดนีย์ โอเปราเอาส์ ในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รวมไปถึงตึกระฟ้าริมอ่าววิกตอเรียฮาร์เบอร์ในฮ่องกง ต่างพร้อมใจกันปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ในช่วง “เอิร์ธอาวร์” เมื่อวันที่ 25 มีนาคมเป็นการรณรงค์เชิงสัญลักษณ์เพื่อสร้างความสนใจในการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน

ข่าวระบุว่า คาดว่าจะมีผู้คนหลายล้านจากกว่า 170 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมในกิจกรรมนี้ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหิน น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

กิจกรรมดังกล่าวนี้มีจุดเริ่มต้นที่นครซิดนีย์ของออสเตรเลีย เมื่อปี 2550 ก่อนที่จะขยายเป็นโครงการรณรงค์ที่มีผู้เข้าร่วมอย่างกว้างขวางจากทุกทวีปทั่วโลก

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลก (ดับเบิลยูดับเบิลยูเอฟ) ที่เป็นผู้ริเริ่มจัดเอิร์ธอาวร์ ระบุว่ามีความก้าวหน้าอย่างมากในการช่วยกันจัดกิจกรรมรณรงค์ที่แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ย่ำแย่ของดาวเคราะห์ดวงนี้

ในนครซิดนีย์ อาคารหลายแห่งที่อยู่ริมอ่าวซิดนีย์ฮาร์เบอร์ต่างพร้อมใจกันปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเริ่มตั้งแต่เวลา 20.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น หลังจากนั้นสถานที่สำคัญหลายแห่งในเอเชีย ทั้งอาคารริมอ่าววิกตอเรียฮาร์เบอร์ในฮ่องกง อาคารตลอดแนวรถไฟฟ้าในสิงคโปร์ รวมถึงตึกโซนีในย่านกินซา กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ต่างพร้อมใจกันดับไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ขณะที่เจดีย์ชเวดากองในพม่ามีการจุดตะเกียงน้ำมัน 10,000 ดวงเพื่อเป็นการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ด้วย

ขณะที่สถานที่สำคัญหลายแห่งในทวีปยุโรป แอฟริกา และอเมริกา อาทิ หอไอเฟลในกรุงปารีสของฝรั่งเศส พระราชวังเครมลินในกรุงมอสโกของรัสเซีย หอนาฬิกาบิ๊กเบนในกรุง หอเอนเมืองปิซา มหาพีรามิด และตึกเอ็มไพร์สเตท มีกำหนดการที่จะปิดไฟเป็นเวลา 1 ชั่วโมงนับจากนี้ด้วย

Credit เนื้อหาและภาพประกอบ http://www.matichon.co.th/news/508065

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank