เอธิโอเปียแล้งหนักที่สุดในรอบ 30 ปี

Wednesday, 03 February 2016 Read 1452 times Written by 

03 02 2016 2

เอธิโอเปียแล้งหนักที่สุดในรอบ 30 ปี สหประชาชาติประกาศระดมทุนช่วยเหลือชาวเอธิโอเปีย ซึ่งกำลังเดือดร้อนอย่างหนักจากภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 3 ทศวรรษ และทำให้ประชาชนนอดอยากอย่างหนัก

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงแอดดิสอาบาบา ประเทศเอธิโอเปีย เมื่อวันที่ 2 ก.พ. ว่านายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) กล่าวระหว่างเดินทางลงพื้นที่ในกรุงแอดิสอาบาบา เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่แล้ว แสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ภัยแล้งในเอธิโอเปีย ที่มีความเลวร้ายที่สุดในรอบ 30 ปี และรัฐบาลต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยนายบันยอมรับว่า ขอบเขตของความเสียหายที่เกิดขึ้นจากวิกฤติภัยแล้งในเอธิโอเปียครั้งนี้ รุนแรงเกินกว่าที่รัฐบาลจะรับไหวเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งการประเมินเบื้องต้นของยูเอ็นพบว่า ชาวเอธิโอเปียอย่างน้อย 10.2 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งประเทศราว 94 ล้านคน กำลังอดอยาก ทั้งนี้ ในเบื้องต้นยูเอ็นประกาศตั้งกองทุนขอรับบริจาคช่วยเหลือชาวเอธิโอเปียแล้ว โดยตั้งเป้า 1,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 50,400 ล้านบาท ) ซึ่งองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐ ( ยูเอสเอด ) ประกาศบริจาค 97 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ( ราว 3,492 ล้านบาท ) ขณะที่นายเดเมเค มีคอนเนน รองนายกรัฐมนตรีเอธิโอเปีย กล่าวว่าปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรงกว่าปกติ ส่งผลให้ภัยแล้งของประเทศในปีนี้เลวร้ายกว่าหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทุกฝ่ายนึกย้อนไปถึงวิกฤติภัยแล้วระหว่างปี 2526-2528 ซึ่งเป็นผลจากสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้น ทำให้มีประชาชนอดอยากและเสียชีวิตจากการขาดอาหารหลายแสนคน

นอกจากนี้ ยูเอ็นยังแสดงความวิตกกังวลอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ภัยแล้งในภาคใต้ของทวีปแอฟริกาด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนราว 14 ล้านคน ซึ่งมาลาวีเป็นประเทศได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดในภูมิภาค โดยประชาชนราว 2.8 ล้านคนกำลังประสบกับภาวะขาดอาหาร รองลงมาคือมาดากัสการ์ 1.9 ล้านคน และซิมบับเว 1.5 ล้านคน
คลิปประกอบ : World Humanitarian Summit“

อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/foreign/377025

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank