ยูเอ็นวิตกภัยแล้งโซมาเลีย

Tuesday, 26 July 2011 Read 1997 times Written by 

26_7_2011_3

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แสดงความวิตกกังวลถึงสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง ที่โซมาเลียกำลังเผชิญ ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตวันละ 40-50 คน เนื่องจากขาดสารอาหาร

นาย Peter Wittig เอกอัครราชทูตเยอรมนี ประจำสหประชาชาติ ในฐานะประธานของคณะมนตรีความมั่งคงแห่งสหประชาชาติประจำเดือนนี้ ได้กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน ที่นครนิวยอร์คว่า หลังจากที่สมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ได้รับทราบรายงานสถานการณ์ด้านมนุษยชนในโซมาเลียของ หน่วยงานความร่วมมือกิจการมนุษยชน หรือ โอซีเอชเอ. เมื่อวานนี้ ในที่ประชุมคณะมนตรีฯ ได้แสดงความวิตกกังวลถึงผลกระทบของสถานการณ์ภัยแล้ง ในเขต Bakool และ Lower Shabelle ทางตอนใต้ของโซมาเลียเป็นอย่างมาก รวมไปถึงสถานการณ์ขาดแคลนสารอาหารของประชาชนในหลายพื้นที่ของแอฟริกาด้วย

อย่างไรก็ตามในที่ประชุมรู้สึกยินดีที่นานาชาติต่างระดมให้ความช่วยเหลือ อย่างเช่นการจัดประชุมฉุกเฉินขององค์การอาหารและเกษตรกรรม ที่กรุงโรม ในวันนี้ เพื่อหาทางช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง แต่อีกเรื่องที่ยังคงวิตกกังวล คือเงินกองทุนที่ยังขาดแคลน และได้เรียกร้องให้ประชาคมโลก ส่งความช่วยเหลือและหาทางป้องกันภัยแล้ง เพื่อไม่ให้สถานการณ์ในโซมาเลีย เลวร้ายลงไปอีก

ทั้งนี้หลายประเทศในแอฟริกาตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นเคนยา,เอธิโอเปีย , โซมาเลีย, เอริเทรีย และซูดานใต้ กำลังเผชิญภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 60 ปี และมีประชาชนราว 11 ล้านคนต้องการความช่วยเหลือ และในแต่ละวัน มีพ่อแม่ อุ้มลูกมานั่งรอที่โรงพยาบาล เพื่อให้หมอช่วยชีวิตลูกอยู่ภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก ซึ่งรายงานระบุว่า ในแต่ละวัน มีเด็กเสียชีวิตจากขาดแคลนสารอาหารมากถึง 40-50 คนเลยทีเดียว

ขณะนี้สหประชาชาติ กำลังพยายามอย่างหนักในการระดมทุน 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า

ขอขอบคุณ http://www.krobkruakao.com

 

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank