เทคโนโลยีการปลูกมะนาวบนต้นตอมะขวิด

Monday, 10 March 2014 Read 34641 times Written by 

เทคโนโลยีการปลูกมะนาวบนต้นตอมะขวิด
โดย... นายสำเนาว์  ฤทธิ์นุช
อาจารย์ประจำวิทยาลัยเกษตรกรรมและเทคโนโลยีชัยนาท
(เรียบเรียงเนื้อหาจากบทวิทยุกระจายเสียง ปี 2552)

10 03 2014 26-1

มะนาวเป็นพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่งสำหรับคนไทยและเป็นเครื่องปรุงรสที่แทบจะขาดไม่ได้ ทำให้มีความต้องการใช้มะนาวตลอดทั้งปี ในบางฤดูที่ผลผลิตมีน้อยมะนาวจึงมีราคาสูงมาก การผลิตมะนาวนั้นมีผู้ประกอบการหลายคนที่ต้องล้มเลิกการผลิต เนื่องจาก มะนาวเป็นพืชตระกูลส้มที่อ่อนแอต่อโรคและจากปัญหาต่าง ๆ ที่พบนั้นน้อยคนนักที่จะพบว่าปัญหานั้นแก้ได้ด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการหาอาหารและน้ำ เพื่อให้มะนาวมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สามารถต้านทานต่อโรคและแมลง รวมถึงการเพิ่มผลผลิตด้วยเกษตรกร ส่วนใหญ่จะนำต้นพันธุ์ที่ได้จากการตอนมาปลูก จึงทำให้มะนาวมีระบบรากไม่แข็งแรงการปรับปรุงระบบรากของมะนาวจำเป็นต้องอาศัยรากของพืชอื่นที่มีความสามารถสูงมาทดแทนซึ่งสอดคล้องกับเทคโนโลยีด้านการผลิตในการนำต้นตอพืชพื้นเมืองที่มีอยู่ชนิดหนึ่งซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่ามะขวิด

มะขวิดเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในเขตภาคกลาง เป็นพืชที่มีความต้านทานต่อโรคและแมลงสูงมาก มีความสามารถในการทนแล้งทนต่อน้ำท่วม อายุยืน นอกจากนี้มะขวิดยังเป็นพืชที่สามารถบริโภคได้ไม่มีความเป็นพิษใด ๆ ซึ่งสามารถนำมะขวิดมารวมกับมะนาวได้โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการติดตาต่อกิ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งได้ทดสอบมาเป็นระยะเวลานานกว่า 16 ปี ที่ผ่านมา ได้ทดสอบถึงการปลูก การติดตาต่อกิ่ง การให้ผลผลิต การตอบสนอง การต้านทานโรค ปรากฏว่ามีทั้งข้อดีข้อเสีย แต่ข้อดีจะมากกว่าข้อเสีย

มะขวิดเป็นพืชที่ทนความแห้งแล้ง มีใบเล็กและเป็นพืชตระกูลส้ม สามารถติดตาได้กับส้ม มะนาวหรือมะกรูด ในชนบทมะขวิดจะขึ้นในที่ดอนหรือในที่ลุ่มแม้ไม่รดน้ำ ก็ไม่เหี่ยวไม่เฉา เป็นพืชที่ทนแล้ง มะขวิดมีการเจริญเติบโตแบบยั่งยืนทนร้อน หนาวหรือจะเป็นฝนก็ตามไม่มีอิทธิพลทำให้มะขวิดชะงักการเจริญเติบโต ไม่โค่นไม่ล้ม มะขวิดมีส่วนดีสามารถเข้ากับมะนาวได้ดีและให้ผลผลิตดก

พืชที่สามารถอยู่บนต้นตอมะขวิดได้ควรเป็นพืชตระกูลส้ม ทั้งนี้เคยมีการทดลองนำส้มขาวแตงกวาไปเสียบกับต้นตอมะขวิด เจริญเติบโตได้ดีพอสมควรแต่ผลที่ได้จะมีเปลือกหนากลายเป็นส่วนไม่ดี ถือว่าใช้ไม่ได้ นำมาทดสอบกับส้มเขียวหวานจะให้ผลดกมากแต่มีรสเปรี้ยว เป็นสิ่งที่ไม่ดี จากการทดลองพืชหลายชนิดสรุปว่า มะนาวและมะกรูดบนต้นตอมะขวิดจะให้ผลผลิตดีกว่าพืชชนิดอื่น ๆ แต่มีข้อเสียคือการเข้ากันไม่ได้ระหว่างรอยต่อ แต่ไม่ถึงกับทำให้เกิดความเสียหายขนาดต้นมะนาวตาย ส่วนข้อดี คือมะนาวจะมีผลดกมาก มีลูกไม่หยุด ไม่ต้องทำนอกฤดูกาลจึงถือเป็นจุดเด่นที่ประชาชนและผู้ปลูกมะนาวพึงประสงค์

ส่วนมะขวิดกับมะกรูดจะให้ผลผลิตที่ดกมาก ทั้งลูกและใบเพราะฉะนั้นถ้าการปลูกมะขวิดแล้วเสียบด้วยมะกรูดจะมีความพอดีและควรที่จะมีการนำไปพัฒนาต่อ

ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าการนำมะนาวหรือมะกรูดปลูกบนต้นตอของต้นมะขวิด จุดเด่นก็คือจะได้ผลดก ออกลูกตลอดปีไม่จำกัดว่าเป็นฤดูไหนซึ่งต่อไปก็จะหมดปัญหาซื้อมะนาวแพงในหน้าแล้งอีกต่อไป

Credit เนื้อหา : http://www.stou.ac.th/study/sumrit/12-54/page2-12-54.html

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank