การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่แห้งแล้ง

Monday, 10 March 2014 Read 63035 times Written by 

การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่แห้งแล้ง

10 03 2014 18

ประภัทร  ปริปุณณะ

วิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ

ไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบนิเวศวิทยาการเกษตรของประเทศไทย  ไม้ยืนต้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบการเกษตรและแบบแผนการเกษตรต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะที่เป็นแหล่งผลิตอินทรีย์วัตถุ  และรักษาความชุ่มชื้นให้กับผืนดิน

ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคอื่นๆ ที่มีการปลูกพืชไร่และพืชอายุสั้นที่มีระบบรากตื้นทั้งหลายติดต่อกันยาวนาน  โดยไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินนั้น ดินจะเสื่อมความสมบูรณ์ลงอย่างช้า ๆ จนเป็นสาเหตุปัญหา ดินทรายขยายตัว เกิดดินเค็ม และศัตรูพืชระบาด

การปลูกไม้ยืนต้นในระบบการเกษตรดังกล่าวเช่น การปลูกไม้ผลในนาข้าว การปลูกไม้ผลในไร่มันสำปะหลัง ฯลฯ จะช่วยฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินและสภาพแวดล้อมอย่างช้า ๆ โดยชาวบ้านที่ปลูกจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นด้วย

แนวทางการแก้ปัญหาเช่นนี้เป็นทางออกที่ดีต่อการแก้ปัญหาความแห้งแล้งและปัญหาทางเศรษฐกิจของชาวบ้านอีสาน ดีกว่าการส่งเสริมให้มีการปลูกไม้โตเร็วเป็นการค้า เช่นนโยบายการให้บริษัทเอกชนขนาดใหญ่ปลูกยูคาลิปตัส เป็นต้น

การปรับปรุงดิน

หลักการข้อนี้สำคัญที่สุด  คือการปรับปรุงดินในหลุมปลูกไว้ล่วงหน้าก่อน ลงมือปลูกเป็นเดือน ๆ หรือหลายเดือน เพ่งเล็งให้หลุมปลูกมีอินทรีย์วัตถุสูง  ซึ่งจะช่วยทำให้ดินสามารถอุ้มน้ำไว้ในตัวเองได้สูง

ในการปลูกไม้ยืนต้น ผมได้ขุดหลุมขนาด 60x60x60 เซนติเมตร เอาหน้าดินส่วนบน(ดินชั้นบน)กองไว้ ขุดดินชั้นล่างสาดทิ้งไป

ใช้หญ้าแห้ง 1 ปี๊บใส่ก้นหลุม  ใส่ปุ๋ยคอก 1 ปี๊บทับบนหญ้าแห้งแล้วเอาดินชั้นบนทับลงไป พูดดินขึ้นเป็นรูปทรงแหลมสูงคล้าย ๆจอมปลวก ทิ้งไว้สัก 2-3 เดือน หญ้าแห้งและปุ๋ยคอกจะสลายตัวพร้อมที่จะเป็นอาหารของพืชได้

ก่อนปลูกใช้จอบพรวนดินคลุกดินให้เข้ากัน

รดน้ำก่อนลงมือปลูก  วันละครึ่งปี๊บติดกัน 2 วัน  เพื่อให้หลุมมีความชุ่มชื้นสูงพอเหมาะ

วันปลูกรดน้ำเพียงพอเล็กน้อยก็พอ  ถ้าให้น้ำวันปลูกมากเกินไปต้นอ่อนจะสำลักน้ำและรากเน่าเปื่อย

การปลูกต้นไม้อ่อนเปรียบเสมือนคนเลี้ยงลูก  แต่ต้องมีน้ำนมเตรียมไว้ให้ลูก พืชเป็นสิ่งมีชีวิตเหมือนคนจึงต้องการอาหาร ต้องการบำรุงรักษาและทะนุถนอมเช่นเดียวกัน

การเริ่มต้นที่ถูกต้องเท่ากับเห็นผลสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง

การบังไพรให้ต้นอ่อน

ป้องกันแสงแดดตอนบ่ายในเดือนแรกให้กล้าไม้ได้รับแสงแดดตอนเช้าวันละ 3-4 ชั่วโมงก็พอ  ต่อไปจึงเพิ่มแสงแดดให้มากขึ้น วัสดุที่ใช้บังไพรได้ดีเช่นทางมะพร้าว เป็นต้น

การคลุมโคนต้น

พอกล้าอายุได้ประมาณ 2-3 เดือน ใช้กิ่งไม้ ใบกล้วยแห้ง หญ้า ฟาง หรือวัสดุอื่น ๆ ที่ย่อยสลายได้คลุมโคนต้นโดยรอบ คลุมให้ห่างจากต้นประมาณหนึ่งฟุตให้หนาพอที่จะป้องกันแสงแดด และลมโกรกผิวหน้าดิน เป็นการลดการระเหยของน้ำ ควบคุมวัชพืช และได้อินทรีย์วัตถุเป็นผลพลอยได้

พืชบังร่ม

ในระหว่างแถวที่ปลูกไม้ยืนต้นจำเป็นต้องมีไม้บังร่มเป็นพืชพี่เลี้ยง  พืชพี่เลี้ยงนอกจากจะช่วยลดแสงแดดจัดแล้วยังช่วยรักษาความชื้น พืชที่ใช้บังร่มได้ดีเช่น กล้วยน้ำว้า แค กระถิน ถั่วแระ เป็นต้น

ปลูกระยะชิด

วางระยะการปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวให้ถี่สักหน่อย  เมื่อต้นไม้โตขึ้นทรงพุ่มชิดติดกันพอดีเป็นการป้องกันแสงแดดหน้าร้อนไม่ให้ส่องโดนต้นรุนแรง

แนวกันลม

ตามแนวรั้วควรปลูกพืชกำบังลม ป้องกันลมโกรก  ซึ่งจะทำให้ดินแห้ง ผมใช้ต้นขี้เหล็กและมะขามเทศปลูกชิดติดกัน  โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ  ซึ่งเป็นทางลมพัดโกรกในหน้าหนาว  ปรากฎว่าช่วยรักษาความชื้นของอากาศในสวนได้เป็นอย่างดี

การไถพรวนหลังหน้าฝน

ดินในสวนอย่าปล่อยให้แน่นเป็นหน้าหนัง  หรืออย่างดินในลานวัด พอหมดหน้าฝน ให้ขุดหรือไถให้ร่วนโปร่งเพื่อตัดเส้นการระเหยของน้ำใต้ดิน

การใส่ปุ๋ย

ควรใส่ปุ๋ยหมักเพิ่มเติมเรื่อย ๆ เพื่อเพิ่มพูนอินทรีย์วัตถุในดิน  ใส่ปูพรมไปเลย ยิ่งดีจะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ และดูดซับน้ำได้ดีขึ้น

ใช้พันธุ์พืชรากลึก

พันธุ์พืชที่นำมาปลูกควรเป็นกิ่งทาบหรือเพาะเมล็ด  เพราะมีรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน  เมื่อถึงฤดูแล้งจะได้หาน้ำและอาหารจากดินส่วนล่างขึ้นมาประทังไปได้ ถ้าเป็นพันธุ์จากกิ่งตอนจะมีแต่รากแขนงและรากฝอยซึ่งเป็นรากส่วนบน รากเหล่านี้มักได้รับอันตรายจากการขาดน้ำและอาหาร เพราะหน้าร้อนดินผิวบนแห้งและร้อนจัด

รดน้ำช่วงแสงแดดอ่อน

สำหรับดินที่เป็นทรายในช่วงหน้าร้อนตั้งแต่เวลาสามโมงเช้าถึงสามโมงเย็นสะสมความร้อนระอุเอาไว้มาก  เพราะฉะนั้นไม่ควรรดน้ำในช่วงเวลาดังกล่าว ทางที่ดีควรรดน้ำตั้งแต่ตอนเช้ามืดถึงสองโมงเช้าและตอนบ่ายสี่โมงถึงตอนกลางคืน

การให้น้ำแบบพิเศษ

พืชที่มีราคาแพงหรือหาได้ยาก หรือได้พันธุ์จากท้องถิ่นอื่นยังไม่คุ้นเคยกับดินฟ้าอากาศที่แห้งแล้ง  ให้หาตุ่มน้ำดินเผาชนิดเนื้อหยาบตั้งไว้โคนต้นสักใบหรือสองใบ  เติมน้ำให้เต็มตุ่มตลอดวันจะช่วยหาความชุ่มชื้นได้มาก  ตุ่มใบหนึ่ง ๆ ใช้ได้ทนทานนับสิบ ๆ ปี

ใช้น้ำอย่างประหยัด ได้ประโยชน์สูงสุด

น้ำที่ใช้ในกิจประจำวันเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่นล้างหน้า อาบ ซักเสื้อผ้า นับเป็นน้ำปุ๋ยอย่างหนึ่งเนื่องจากมีเหงื่อไคลผสมอยู่ แม้แต่น้ำปัสสาวะถ้าเอามาผสมน้ำในอัตรา ปัสสาวะหนึ่งกระป๋องนมต่อน้ำหนึ่งปี๊บแล้วเอามารดต้นไม้จะทำให้รากเจริญเติบโตดีมาก

เลือกพืชทนแล้ง

ควรเลือกพืชยืนต้นที่ทนแล้ง เช่น น้อยหน่า มะม่วง ขนุน กล้วยน้ำว้า มะพร้าว มะขามเทศ มะยม มะรุม เพกา ขี้เหล็ก สะเดา ฯลฯ ส่วนพืชที่รากเล็ก ๆ ละเอียด ๆ หากินระดับตื้น ๆ เช่น มะละกอ มะนาว มะกรูด มักจะไม่ทนแล้งจึงไม่ควรปลูกมาก

ใช้ไม้ท่อนนำร่องพืชรากลึก

พืชที่รากแก้วหยั่งลึก เช่น มะม่วง ควรใช้ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ทองหลาง ก้ามปู ขนาดเสาเข็มตัดเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 1 ศอก  ฝังกลางหลุมปลูกในระดับใต้รากประมาณ 2-3 ท่อน  พอไม้ผุก็จะกลายเป็นช่องว่างให้รากแก้วหยั่งลงไปได้สะดวกไม่คดงอ

หลักการ 14 ประการนี้ยังไม่ใช่ข้อยุติแต่จะต้องทดสอบค้นคว้าวิจัยติดต่อกันไปเรื่อย ๆ  ผมขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมชมรมผู้รักต้นไม้เพื่อร่วมสร้างสรรค์แผ่นดินอีสานให้ร่มรื่น ดีงาม และสมบูรณ์พูนสุขชั่วนิรันดร

Credit เนื้อหา : http://www.thaikasetsart.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99/

โครงการ

โครงการบรรเทาการปลดปล่อยก๊าชเรือนกระจก จากภาคเกษตรด้วยสารยับยั้งไนตริฟิเคชั่น
ชุดโครงการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
โครงการพัฒนาโมเดลต้นแบบ การจัดการขยะชุมชนต้านภัยโลกร้อนระดับจังหวัด
โครงการพัฒนาดัชนีความร้อน และการประยุกต์ใช้ศึกษาคลื่นความร้อนในประเทศไทย
ซอฟต์แวร์ประมวลผลปริมาณคาร์บอนในป่าและต้นไม้
ชุดโครงการศึกษาความตระหนักรู้และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยในบริบทของความตกลงปารีส

เครื่องมือ

โปรแกรมประมวลผลดัชนีความร้อน สำหรับประเทศไทย
โปรแกรมการวิเคราะห์ และประมวลผลดัชนีความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น
ระบบเตือนภัยความร้อนและหมอกควัน
MCCAI ดัชนีการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของเทศบาล
GHG-3Rs
แบบสอบถามออนไลน์: CCAI

ดัชนี

Ncar
Ncar
SOI Annual
Multivariate ENSO
Indian Summer and Western North Pacific Monsoon Index
Blank

ปริมาณคาร์บอน

ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอนทั่วโลก
index-carbon
Carbon Market
Point Carbon
Blank

ภูมิปัญญา

Biogas
ภูมิปัญญา
ระบบข้อมูลพื้นที่สีเขียวและป่านิเวศในเมือง
โครงการศึกษาผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อยางพาราในประเทศไทย
Blank
Blank